หนังสือ ความสุขไม่ต้องสมบูรณ์แบบ เป็นหนังสือความเรียง ที่ชวนให้ผู้อ่านตั้งคำถามกับตัวเองระหว่างที่อ่านหนังสือเล่มนี้ ว่า “ทำไมจึงมีชีวิตอยู่” “ทำไมต้องมีความสุข” และค้นหาคำตอบของแต่ละคน เพราะความสุขที่เราต้องการอาจจะเป็นความสุขที่ไม่ต้องแสวงหา เพราะหากเราว่าสิ่งที่ตัวเองเป็นได้ชัด ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นความสุขเช่นกัน ดังนั้นเราจึงพบความสุขได้แม้แต่ในความเศร้า
คนเรามีชีวิตอยู่ทำไม คำตอบก็คือ เพื่อมีความสุข แล้วลองถามตัวเองต่อว่า ทำไมต้องมีความสุข บางคนได้ฟังคำถามนี้ครั้งแรกอาจจะรู้สึกขัดแย้งในใจและสามารถตอบได้ทันทีว่าในเมื่อความสุขเป็นเรื่องที่ใครๆก็อยากมีทำไมเราถึงจะไม่อยากมีความสุข
แต่อะไรล่ะที่ทำให้เรามีความสุข แล้วสิ่งนั้นเป็นความสุขของเราจริงๆใช่ไหม เราเคยตั้งคำถามแบบนี้กับตัวเองหรือเปล่า หากลังเลในคำตอบข้อนี้ไม่แน่ว่าเราอาจจะต้องทบทวนกับคำถามและคำตอบอีกครั้ง หรือเราอาจจะต้องไปเริ่มที่เราให้ค่าความหมายของความคำว่า “ความสุข” ว่าอย่างไร
บางคนคิดไปว่าความสุขที่เรามีอยู่นี้เป็นสุขที่หัวใจเราเต็มตื่นจริงๆ หรือเป็นเพียงความสบายใจที่ได้เป็นที่ยอมรับในสายตา
แน่นอนว่าเรื่องของความรู้สึกมันไม่มีผิด และก็ไม่มีถูก ความสุขไม่มีหน่วยวัดมาตรฐาน ไม่สามารถใช้เกณฑ์ของคนอื่นมาอ้างอิงกับเราได้ เราแค่ต้องคอยทบทวนตัวเองว่าตัวตนของเราคือใคร จุดลงตัวที่แท้จริงของเราอยู่ตรงไหน แล้วเราก็จะพบความสุขของเราจริงๆ
อยากรักตัวเองแต่ไม่รู้จักตัวเอง มีใครรู้วิธีรักที่แน่ชัดไหม มีใครรู้จักตัวเองดีหรือเปล่า เราได้ยินประโยคโปรดจงรักตัวเองตลอดทั้งที่ยังตอบ 2 คำถามนี้ให้ชัดเจนไม่ได้ด้วยซ้ำ สุดท้ายเราก็ทนความไม่รู้จักความรักและสิ่งที่ตัวเองเป็นไม่ไหว จึงพึ่งพิงความรักที่คนอื่นให้ แล้วปักใจเชื่อว่านี่เป็นความรักตัวเอง มั่นใจถึงความรักตัวเองภายในกรอบของคนอื่น แทนที่จะเป็น “ตัวฉัน” เมื่อไหร่ก็ตามที่กรอบนั้นอันตรธานหาย ความรักและฉัน ที่เคยมีอยู่ในอีกฝ่ายก็จะหายตาม สุดท้ายก็จะกลับไปสู่ความไม่รู้อีกครั้ง และเฝ้ารอใครคนอื่นมามอบความรัก
อย่าเปรียบเทียบกระทั่งความโศกเศร้า บางครั้งคนเราก็ดูเหมือนจะแข่งขันกันว่าใครลำบากมากกว่า เราต่างรู้สึกโศกเศร้าได้ตามขีดจำกัดในใจของใครของมัน เป็นไปไม่ได้ที่จะเศร้าและเจ็บปวดเกินขีดจำกัดในใจของตัวเอง แต่แล้วเวลาเอ่ยปากเล่าเหตุทุกข์ยากของตัวเองเรามักจะได้ยินคำพูดประเภท “มีคนลำบากกว่าอีกตั้งเยอะ แค่นั้นไม่เป็นไรหรอก” ตกลงเราต้องจินตนาการเผื่อไปถึงปริมาณความโศกเศร้าของผู้อื่นที่เราไม่รู้จักหรือ แล้วก้มหน้าก้มตาแบบรับความทุกข์ของตัวเองต่อ
อันที่จริงคนเราไม่ได้อยากเล่าระบายความโศกเศร้าเพราะอยากอดทนต่อสถานการณ์ที่เผชิญหรอก เราเล่าความเศร้าของเราเพราะอยากโล่งใจ สบายใจเมื่อได้รับความเห็นใจอย่างแท้จริง แต่ผู้คนกลับเปรียบเทียบกระทั่งความโศกเศร้า พูดจาเหมือนความเศร้าที่ปริมาณน้อยกว่าเป็นสิ่งที่ประติ๋วเสียอย่างนั้น
โปรดมองฉันให้ลึกซึ้ง “เพราะเธอยังเด็กจึงคิดแบบนั้น” ประโยคที่ผู้ใหญ่บางคนชอบพูด รู้ไว้ว่าพวกเขาไม่ได้อยากรู้ความคิดของคุณหรอก เขาแค่ลองถามเพื่อตอกย้ำให้แน่ใจว่าพวกเขาใช้ชีวิตไม่ผิดพลาด เราทุกคนแสดงความคิดตามประสบการณ์ส่วนตน ถ้าว่าผู้ใหญ่บางคนใช้เหตุผลแค่ว่าอาบน้ำร้อนมาก่อนนิดหน่อย เพื่อจะไม่มองอีกฝ่ายที่เด็กกว่าให้ลึกซึ้ง คิดว่าเด็กอย่างเราเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางที่พวกเขาเคยใช้ ซึ่งแน่นอนว่าทำให้เราอับจนคำพูด
บางครั้งคำถามก็น่าซึ้งใจกว่า คนเราประทับใจเมื่อได้รับการปลอบโยน แต่รู้สึกเติมเต็มจากคำๆ เดียวที่จริงใจ แต่บางครั้งเราก็พูดคำว่า “สู้ๆ” กันดื้อๆ โดยไม่ฟังเรื่องราวของอีกฝ่ายที่เป็นทุกข์
จริงๆ แล้วการปลอบประโลมเริ่มจากเรื่องราวและในความเศร้าก็มีเรื่องราวของคนๆ หนึ่งอยู่
คำถามว่า “เหนื่อยใช่ไหม” น่าซึ้งใจกว่าคำพูดโพล่งให้ “สู้ๆ” คำคำเดียวนี้ถ่ายทอดสิ่งที่ต่างคนต่างเป็นแก่กัน เราทุกคนล้วนมีเหตุการณ์ที่ทุกข์ใจ การให้ความสำคัญต่อความเศร้าของผู้อื่นเท่ากับให้ความสำคัญต่อความเศร้าของตัวเอง
ความรักที่ลบเหตุผลเพราะไม่อยากเสียไป การรักตัวเองโดยไม่มีเหตุผลนั้นทำได้ยาก เราต้องรู้จักตัวเองระดับหนึ่งก่อนถึงจะรักได้ เราจึงรักตัวเองเป็น
อย่างไรก็ตาม พอเจอเหตุผลที่ให้รักตัวเองแล้วก็คิดอีกว่า “ถ้าไม่มีเหตุผลนั้นจะยังรักตัวเองได้อีกไหมนะ” เราจะไขปัญหานี้ได้เมื่อรู้สึกถึงความรัก ก็ให้รับเหตุผลนั้นในฐานะสิ่งที่เราเป็น เพราะหากเกิดเงื่อนไขของเหตุผลต่อความรักก็มีโอกาสว่าจะสูญเสียรักไป ฉะนั้นหากพบเหตุผลและเริ่มรักแล้วก็จงรู้จักรักโดยลบเหตุผลนั้นด้วย