หนังสือเล่มที่ 163 ของปี 2023 ที่อ่านจบ คือหนังสือ “จิตวิทยาอ่านใจคนขั้นสุด (MINDREADER)” ผลงานเล่มล่าสุดจาก David J. Lieberman ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านพฤติกรรมมนุษย์และที่ปรึกษาด้านการสืบหาความจริงของ FBI ผู้แปล พูนลาภ อุทัยเลิศอรุณ สำนักพิมพ์ วีเลิร์น (WeLearn) และขอขอบคุณทางสำนักพิมพ์ WeLearn มากๆ ที่ส่งเล่มนี้มาให้อ่าน เป็นหนังสืออีกเล่มที่ผมชอบทั้งปกสวย และเนื้อหาถูกใจ
เกริ่นนำ
“ถ้าอ่านใจคนออก…รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง!” หนังสือ “จิตวิทยาอ่านใจคนขั้นสุด (MINDREADER)” จะแนะนำกลวิธีอ่านใจคนขั้นสูงที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในกองทัพและหน่วยงานด้านความมั่นคงของสหรัฐอเมริกาซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเจาะลึกเข้าถึง “จิตใต้สำนึก” ของผู้คนและล่วงรู้สิ่งที่พวกเขากำลังคิดและรู้สึกจริง ๆแม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้เอ่ยปากพูดอะไรกับคุณเลยก็ตาม
สรุปข้อคิดจากหนังสือ “จิตวิทยาอ่านใจคนขั้นสุด (MINDREADER)”
คนโกหกอย่างไรเล่ห์เหลี่ยมอาจหลบตาคุณ เพราะการสบตาคือการเพิ่มความใกล้ชิด และทำให้คนที่กำลังโกหกรู้สึกผิดมากขึ้นเรื่อยๆ
การเลี่ยงไม่ใช้สรรพนามแทนตัวเอง ส่งสัญญาณว่าคนๆนั้นไม่อยากรับผิดชอบในคำพูดของตัวเอง
เพื่อต้องการดึงความสนใจจากสาธารณชนให้ยื่นมือช่วยเหลือในสถานการณ์หน้าสีหน้าขวาน
การใช้คำสุภาพบอกเรากลายๆ ว่าผู้พูดต้องการลดทอนหรือเวรความสนใจจากความตรงไปตรงมา
การใช้คำว่า คุณหรือคนเรา เมื่อต้องการสื่อถึง ฉันหรือของฉัน อาจสะท้อนถึงความไม่สบายใจของผู้พูด
วิธีระบุว่าใครถนัดซ้ายหรือขวาให้สังเกตเวลาคนคนนั้นเอื้อมมือหยิบรับสิ่งของ หรือให้ดีกว่านั้นคือตอนรับสิ่งของที่ถูกโยนให้ตรงหน้า
คู่แต่งงานที่ใช้คำว่าเราและของเรา มากกว่าใช้ฉันและคุณ มีอัตราหย่าร้างต่ำกว่าและมีรายงานว่ารู้สึกพอใจในชีวิตแต่งานมากกว่า
คำพูดลอยๆเพียงประโยคเดียวอาจไม่มีความหมายอะไรเลย แต่รูปประโยคที่พบบ่อยจนเป็นแบบแผนซ้ำๆจะเปิดเผยทุกอย่าง
สังเกตความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยของภาษา เราก็สามารถประเมินได้แล้วว่าใครต้องการจะสนิทกับเรามากขึ้น
เมื่อคุณขอร้องหรือเรียกร้องจากใครสักคน คุณมักจะปรับภาษาให้เหมาะกับขนาดของคำขอและความแตกต่างของอำนาจระหว่างคนทั้งสอง
ยิ่งคุณต้องพูดหรือทำน้อยเท่าไหร่เพื่อขอความร่วมมือ แสดงว่าคุณยิ่งมีอำนาจควบคุมมากเท่านั้น
หากลองสังเกตการพูดคุยของคนสองคน แล้วคนนึงยกมือชี้ไปอีกคน แม้ว่าคุณจะไม่ได้ยินว่าพวกเขาพูดอะไรกัน คุณย่อมรู้ว่าคนที่ชี้คือคนที่กุมอำนาจ
ในเชิงจิตวิทยาแล้วเดิมพันที่สูงขึ้นส่งผลให้มุมมองเราแคบลง เพิ่มความวิตกกังวลและเรียงลำดับความสนใจของเราใหม่ ฝ
ความกระวนกระวาย จับหน้าและผม แกะผิวหนัง คอยเอามือลูบขา และเล่นนิ้วตัวเอง บ่งบอกถึงความวิตกกังวลหรือความกลัวอย่างหนัก
การใช้สรรพนามแทนตัวเองบ่อยๆ เป็นเครื่องหมายของภาวะวิตกกังวล
ภาวะคือวิถีทางทางอารมณ์ชั่วคราว มันสะท้อนความคิดหรือต่อการตอบสนองของเราต่อสถานการณ์ในชั่วขณะหนึ่ง ส่วนอุปนิสัยคือลักษณะเฉพาะตัวที่คงเส้นคงวา หรือเป็นแบบแผนทางความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม ตลอดจนสามารถเป็นเครื่องทำนายพฤติกรรมในอนาคตที่สำคัญ
ภาวะโกรธอาจถูกสะท้อนให้เห็นผ่านการใช้สรรพนามบุรุษที่ 2 และ 3
ในเชิงอารมณ์ความโกรธจะทำหน้าที่ชี้นำ ปิดบัง หรือเบี่ยงเบนความสนใจของเราออกจากตัวเรา ภาษาที่เราใช้จึงเป็นไปในทางเดียวกัน
ความทะนงตนเข้ามามีบทบาทเต็มที่เวลาโกรธ ภาษาที่เราใช้ย่อมไม่มีคำว่าเรา เพราะเราไม่ได้อยากเชื่อมสัมพันธ์หรือแบ่งปันอะไรกับคนหรือสิ่งที่เราไม่ชอบ
หากใครคนนึงบรรยายพฤติกรรมที่ตัวเองกำลังทำมันเป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจนว่าคนๆนั้นต้องการจะพูดคุยกันอย่างเปิดเผย
ตามแนวทางพื้นฐานแล้ว คำตอบที่เป็นความจริงนั้นจะสั้นและตรงไปตรงมา
การตอบกลับข้อกล่าวหาด้วยประโยค “คุณมาถามฉันอย่างนี้ได้ยังไง” ประโยคนี้ยิ่งทำให้ดูมีพิรุธมากขึ้น
“ฉันจะโกหกคุณไปทำไม” ถ้าคุณได้ยินคำตอบนี้ให้สงสัยไว้ก่อนได้เลย
การหาเรื่องมาโกหกนั้นต้องใช้พลังความคิดมากกว่าการบอกความจริง
คนโกหกมักพูดจาสูงส่งและใช้ปรัชญา
คนโกหกจะชอบพูดว่า “อย่างที่ฉันบอกไปก่อนหน้านี้แหละ” หรือ “ฉันก็ตอบคุณไปแล้วนี่” มันช่วยให้คนโกหกไม่ต้องประมวลความคิดเยอะ
คนโกหกจะใช้คำที่ยาวและยุ่งยากกว่า แต่ไม่ซับซ้อน พูดไปเรื่อยเปื่อยโดยเต็มไปด้วยรายละเอียดที่ไม่สำคัญและไม่มีเหตุผล
คนที่มีความผิดจะต้องการเปลี่ยนเรื่องทันทีและรีบจบการสนทนานั้น ในขณะที่คนบริสุทธิ์จะอยากแลกเปลี่ยนข้อมูลต่อให้มากขึ้น
เราไม่ได้หัวเราะเพราะเรามีความสุข เรามีความสุขเพราะเราหัวเราะ
ถ้าใครสักคนคอตกและมองต่ำ เขาอาจจะรู้สึกเศร้าและวิตกกังวล
คนที่ทำผิดไม่ค่อยออกตัวเพื่อรับความผิดไว้เองเพราะพวกเขาทำผิดอยู่แล้ว ให้ตายยังไงพวกเขาก็ไม่เอาป้ายไฟมาแปะหน้าผากเพื่อบอกว่าตัวเองผิด
คนที่ชอบเสแสร้งมักชดเชยสิ่งหนึ่งด้วยอีกสิ่งหนึ่งมากเกินไปไม่ว่าจะทางใดก็ตามจนกลายเป็นนิสัย
คนไม่จำเป็นต้องพยายามขายความจริง เพราะความจริงพูดแทนตัวเองได้
คนที่มีความภูมิใจในตัวเองสูงจะไม่แสดงให้โลกเห็นว่าตัวเองยอดเยี่ยมขนาดไหน คนที่รู้สึกไม่มั่นคงอยู่ตลอดเวลาต่างหากที่วางท่าว่าอยู่เหนือคนอื่น
คนที่หลอกลวงมักจะจดจ่ออย่างหนักกับรายละเอียดที่ไม่สำคัญเพื่อให้รายละเอียดดูมีมิติและสมบูรณ์เหมือนเรื่องจริง
คนทำผิดจะรู้สึกยินดีกับการเปลี่ยนหัวข้อและจบบทสนทนาในระหว่างการสนทนา
ในเรื่องที่แต่งขึ้นมาเกือบทั้งหมดมักจะมีตอนจบที่เป็นฉากสำคัญ แต่เล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาน้อยมาก
คนที่เล่าความจริงจะต้องรื้อฟื้นความทรงจำมาเล่าราวกับสายภาพยนตร์ในหัว ส่วนคนที่ปั้นแต่งเรื่องราวขึ้นมาจะถูกบีบให้ต้องแต่งเรื่องว่าเกิดอะไรขึ้นเป็นฉากๆ เหมือนรูปภาพหรือภาพถ่ายที่เอามาร้อยเรียงต่อกัน
ธรรมชาติของมนุษย์ทำให้เรามักจะเชื่อมั่นและถูกชักนำโดยคนที่เหมือนเราและคนที่ชอบเรา
คนที่มีบุคลิกภาพแบบบงการมีแนวโน้มที่จะโยนความกลัวและความกังวลออกจากตัว ขณะที่คนที่มีบุคลิกภาพแบบโอนอ่อนจะผ่อนตามมักดึงสิ่งเหล่านี้เข้าหาตัวและอ้าแขนรับมันไว้
อารมณ์เป็นเหมือนเงาของคุณค่าที่เรามองเห็นในตัวเอง ทำให้เราฮึกเหิมหรือหดหู่ชั่วครั้งชั่วคราว รวมถึงแต่งแต้มสีสันให้กับมุมมองที่เรามีต่อโลกหรือต่อตัวเอง
ถ้าอารมณ์ของเราขุ่นมัวเราก็มีแนวโน้มที่จะแสดงออกแบบใจแคบและเอื้อเฟื้อต่อคนอื่นน้อยลง
คนที่เป็นมิตรมากกว่าจะใช้ภาษาที่สร้างความสัมพันธ์และหลีกเลี่ยงการปะทะ ส่วนคนที่เป็นมิตรน้อยกว่าจะใช้ภาษาที่บีบบังคับมากกว่าและเน้นการเผชิญหน้าแบบไม่ยั้งคิด
ถ้าเรามีมุมมองที่ดีเราก็จะสนใจเรื่องดีๆ และบ่มเพาะทัศนคติของความชื่นชมและความรู้สึกขอบคุณ
การรู้ตัวว่าเรามีอคติ จะช่วยให้เราลดผลกระทบจากมัน และยกระดับความสามารถในการประเมินคนอื่นหรือสถานการณ์ได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
ให้ระวังคนที่ไม่เคยพูดคำว่า “ฉันขอโทษ”
คุณลักษณะที่เราให้คุณค่าในตัวเอง จะเป็นสิ่งที่เราให้คุณค่าในคนอื่นเช่นกัน
เราไม่จำเป็นต้องทำความเข้าใจทุกเรื่องที่เราไม่รู้
วิธีที่คนเราตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นความวิตกกังวลจะสะท้อนให้เห็นสุขภาพจิตของพวกเขา
สิ่งที่จะบอกได้ว่าใครบางคนมีมุมมองอย่างไรคือวิธีที่เขาตอบสนองต่อประสบการณ์ที่ยากลำบากของชีวิตหรือแม้แต่สถานการณ์ที่เป็นกิจวัตร
ความทะนงตนกับการเห็นคุณค่าในตัวเองนั้นแปรผกผันซึ่งกันและกัน ไม่ว่าภายนอกเขาจะดูมีความสุขกับตัวเองมากแค่ไหนแต่ถ้าเขายังยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง คนคนนั้นกำลังทุกข์ทรมานจากความรู้สึกด้อยกว่า
เมื่อเราเห็นคุณค่าในตัวเองลดลงความสามารถในการให้และรับของเราจะถูกจำกัด
ยิ่งเราเห็นคุณค่าในตัวเองมากเท่าไหร่เรายิ่งรู้สึกทบทวนสมบูรณ์มากเท่านั้น
ช่องทางซื้อหนังสือ
ผู้เขียน : David J. Lieberman
ผู้แปล : พูนลาภ อุทัยเลิศอรุณ
สำนักพิมพ์ : วีเลิร์น (WeLearn)
ขนาด : 14.3 x 21 เซนติเมตร
จำนวนหน้า : 280
ราคาปก : 270 บาท
ซื้อได้ที่ (affiliate):
– Shopee: https://s.lazada.co.th/s.PulAW?cc
– Lazada: https://shope.ee/10blUvFM8Z