หนังสือเล่มที่ 162 ของปี 2023 ที่อ่านจบ ชื่อหนังสือ “ทักษะอันตรายของสายลับที่จะทำให้คุณฉลาดขึ้น” โดยสำนักพิมพ์ วีเลิร์น (WeLearn) เขียนโดย อุเอดะ อัตสึโมริ ที่ปรึกษาอาวุโสสถาบันวิจัยความมั่นคงแห่งชาติ ผู้แปล ภาณุพันธ์ ปัญญาใจ เป็นหนังสือที่จาพาเราขโมยสมองของสุดยอดสายลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชีวิตและการทำงาน
เกริ่นนำ
ทักษะอันตรายที่สุดของสายลับคืออะไร ไม่ใช่การต่อสู้ การใช้อาวุธ หรือการใช้กำลังใด ๆ แต่เป็น “การคิดและวิเคราะห์ข้อมูล” ต่างหาก ที่ช่วยให้พวกเขาเอาตัวรอดในสถานการณ์คับขันได้ แล้วสุดยอดสายลับมี “ทักษะการคิด” อย่างไร?
หนังสือเล่มนี้จะพาคุณไปสำรวจเทคนิคการคิดและวิเคราะห์ข้อมูล ที่สอนกันในหน่วยข่าวกรองระดับโลกอย่าง CIA, MI6, KGB, Mossad รวมถึงสำนักข่าวกรองแห่งชาติของญี่ปุ่น พร้อมทั้งแนะนำกลยุทธ์ที่จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น
• จับสังเกตและแทรกซึมเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ
• จดจำข้อมูลแม่นยำและดึงมาใช้ได้ในพริบตา
• ชักใยผู้คน ใช้จิตวิทยาเปลี่ยนคนที่ต่อต้านให้มาเป็นพวก
• อ่านทุกความเคลื่อนไหวเพื่อสร้างแต้มต่อให้ตัวเอง
• ตัดสินใจอย่างเยือกเย็นและรวดเร็วภายใต้ความกดดัน
สรุปข้อคิดจากหนังสือ “ทักษะอันตรายของสายลับที่จะทำให้คุณฉลาดขึ้น”
ทักษะของสายลับคือทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์
องค์กรธุรกิจเองก็ต้องการบุคลากรชั้นยอดแบบสายลับ
ทักษะของสายลับชั้นแนวหน้าไม่ต่างอะไรกับทักษะของคนที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจ
สายลับมองคนออก ทำงานร่วมกับคนอื่นได้แม้ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ดูออกว่าข้อมูลไหนจริง แยกแยะเรื่องสำคัญได้ ใฝ่เรียนรู้ ประยุกต์หรือพริกแพงสิ่งต่างๆ ได้ดี
ไม่ว่าใครก็ฝึกทักษะของสายลับจนเชี่ยวชาญได้
สายลับคือคนที่ใส่ใจในทุกเรื่อง ใฝ่เรียนรู้ มีวิจารณญาณ มีสามัญสำนึก มีความสามารถในการตัดสินใจ และมีมันสมองที่ชาญฉลาด
สายลับจะรวบรวมข้อมูล ข้อมูลนำไปสู่การวิเคราะห์การวิเคราะห์นำไปสู่การตัดสินใจและการตัดสินใจนำไปสู่การลงมือทำ
เครื่องมือทางความคิดและการลงมือทำที่เริ่มจากการ รวบรวมข้อมูล ไป วิเคราะห์แยกแยะข้อมูล จากนั้นก็ ตัดสินใจ แล้ว ลงมือทำ เป็นอาวุธสำคัญของสายลับ
สายลับใช้เครื่องมือที่เริ่มจาก การรวบรวมข้อมูล > วิเคราะห์และแยกแยะข้อมูล > ตัดสินใจ > ลงมือทำ
ปัจจุบันนวัตกรรมมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ตัดสินใจให้เร็วก็ไม่มีทางสู้กับคู่แข่งหรือบริษัทคู่แข่งได้
การรวบรวมข้อมูลโดยเก็บนำจุดประสงค์คือพื้นฐานของสายลับ และเป็นพื้นฐานในการทำงานและธุรกิจด้วย
หากอยากประสบความสำเร็จและอยู่เหนือคู่แข่ง “อย่าให้ใครรู้เด็ดขาดว่ารวบรวมข้อมูลไปเพื่ออะไร”
90% ของข่าวกรองเป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลเปิด เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โทรทัศน์ หรือ internet
ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลคือ ตั้งคำถาม > ตีกรอบ > รวบรวมข้อมูล
รวบรวมข้อมูลแบบสายลับมี 3 ขั้นตอน 1. กำหนดจุดประสงค์ให้ชัดเจน 2. เตรียมการล่วงหน้า 3. เริ่มหาจากคนที่น่าจะใช้ประโยชน์ได้ก่อน
การกำหนดจุดประสงค์คือสิ่งสำคัญในการรวบรวมข้อมูล ต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าจะรวบรวมข้อมูลไปเพื่อใช้ตัดสินใจอะไร
ต้องไม่ลืมจุดประสงค์เป็นอันขาด ไม่เช่นนั้นคุณอาจหัวปั่นไปกับข้อมูลปริมาณมหาศาล
การจะตัดสินใจอย่างไรเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์หรือจุดประสงค์
คนทำงานต้องตระหนักถึงจุดประสงค์เพื่อให้รู้แน่ชัดว่าตัวเองกำลังรวบรวมข้อมูล เพื่ออะไร และ เพื่อใคร
หากไม่มีความตระหนักถึงจุดประสงค์ ต่อให้พยายามสังเกตก็ย่อมไม่อาจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง
การสังเกตคือพื้นฐานที่คนอย่างสายลับหรือนักสืบจำเป็นต้องมี
การตระหนักถึงจุดประสงค์ช่วยเพิ่มทักษะการสังเกต
สายลับต้องฝึกคาดคะเนจากข้อมูลเล็กๆ
เวลาที่ต้องการข้อมูลสำคัญ ลองรวบรวมข้อมูลจากคนที่อยู่รอบข้างคนที่รู้ข้อมูลสำคัญ
ข้อมูลก่อนนำไปใช้งานก็จำเป็นต้องจัดระเบียบให้เรียบร้อยเสียก่อน
การจัดระเบียบข้อมูลแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนคือ การคัดแยก การจำแนก การประเมิน และการเก็บรักษา
ข้อมูลเล็กๆ ที่เห็นได้ทั่วไปในโซเชียลมีเดีย เป็นข้อมูลสำคัญและดูถูกไม่ได้เป็นอันขาด
ต้องมีความระแวดระวังต่อความคิดเห็นและการประเมินเข้าไว้
ไม่มีอะไรดีไปกว่าการพิจารณาข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ
ไม่นำข้อมูลที่ไม่ระบุแหล่งข้อมูลมาประกอบการประเมินสถานการณ์
จุดสังเกตในการประเมินว่าเป็นข้อมูลรวมหรือไม่คือ “ความต่างนิดหน่อย” กับ “เป็นเนื้อเดียวกันเกินไป”
ไม่ปักใจเชื่อแหล่งข้อมูลแบบไม่ระมัดระวัง
ตระหนักอยู่เสมอว่าข้อมูลจากบันทึกหรือการสัมภาษณ์ย่อมมีการเติมแต่ง เสริมอรรถรส และชี้นำโดยเจตนา
ข้อมูลที่มีประโยชน์สูงสุดคือข้อมูลจากคน
ถ้าอยากเป็นมืออาชีพด้านการสื่อสารอันดับแรกต้องได้รับความไว้วางใจจากคนอื่นเสียก่อน
สิ่งสำคัญในการสร้างความไว้วางใจคือ การไม่เห็นแก่ตัว และรู้จักนึกถึงคนอื่น มีสามัญสำนึกที่สังคมเห็นชอบ
สายลับแทบจะไม่โกหกเลย แถมยังรักษาสัญญา ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และตรงต่อเวลา
หากอยากได้รับความไว้วางใจคุณต้องปฏิบัติกับผู้อื่นด้วยความซื่อตรงหรือมีความจริงใจ
คนทำงานควรจำให้ขึ้นใจว่า “พูดความจริงเรื่องเล็ก พูดโกหกเรื่องใหญ่” มักทำให้คนหลงเชื่อได้ง่าย
หากเจอข้อมูลที่ทำให้รู้สึกว่า “ก็มีข้อเท็จจริงที่ทำให้เชื่อได้อยู่แต่ไม่รู้ทำไมถึงรู้สึกว่ามีอะไรไม่ชอบมาพากล” เป็นไปได้ว่าคนสร้างข้อมูลอาจใช้เทคนิคนี้อยู่
วิธีเข้าหาโดยไม่ทำให้อีกฝ่ายระแวงสงสัย คือเริ่มจากการเข้าหาคนที่อยู่ไกลจากเป้าหมายก่อน
เทคนิคการสนทนาแบบนาฬิกาทราย เริ่มจากพูดคุยสัพเพเหระทั่วไป จากนั้นค่อยๆ พาเข้าเรื่องที่ต้องการลงข้อมูล แล้ววนกลับมาคุยเรื่องสัพเพเหระอีกครั้ง
สายลับไม่ได้เป็นผู้พูดที่ดีแต่เป็นผู้ฟังที่ดี
เทคนิคการฟังเชิงรุก ฟัง + สังเกต +ส่งเสียง + แสดงความเข้าอกเข้าใจ
เคล็ดลับของบทสนทนาที่ลื่นไหลคือต้องรีบหาจุดร่วมให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
สูตรมิตรภาพของ FBI “ความใกล้ไกล + ความถี่ + ระยะเวลา + ความเข้มข้น = มิตรภาพ”
เทคนิคพิชิตใจคนที่เพิ่งเจอครั้งแรก คือให้อีกฝ่ายเล่าเรื่องที่ตัวเองภูมิใจ
เครื่องมือในการเลือกและชักใยให้คนให้ความร่วมมือคือ เงิน ความเชื่อหรืออุดมการณ์ จุดอ่อน/การข่มขู่ และอัตรา
การจำ 3 ข้อที่ KGB ใช้ 1. สร้างความเชื่อมโยง 2. จินตนาการข้อมูลให้เป็นภาพ 3. ใส่อารมณ์
จำได้ดีขึ้นด้วย “เทคนิควังแห่งความจำ” นึกภาพสถานที่ที่คุ้นเคย แล้วเชื่อมโยงข้อมูลที่จะจำกับจุดต่างๆ ของสถานที่นั้ และ “เทคนิคแปลงสาร” เหมาะกับสถานการณ์ที่ต้องจำตัวเลข
เทคนิคการจำเรื่องที่คุยให้แม่น คือระบุให้ชัดเจนตั้งแต่แรกว่าเรื่องไหนต้องตั้งใจฟัง เรื่องไหนปล่อยผ่านได้
การประมวลผลคือสิ่งที่ทำให้ข้อมูลมีค่ายิ่งขึ้น
การรวบรวมข้อมูลอย่างเดียวไม่มีความหมาย ต้องวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจและลงมือทำที่มีประสิทธิภาพ
การมั่นทำความเข้าใจสถานการณ์จะช่วยสร้างกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ
การเตรียมพร้อมกับทุกสถานการณ์สำคัญกว่าการคาดเดา
ช่องทางซื้อหนังสือ
ผู้เขียน : อุเอดะ อัตสึโมริ
ผู้แปล : ภาณุพันธ์ ปัญญาใจ
สำนักพิมพ์ : วีเลิร์น (WeLearn)
จำนวนหน้า : 240 หน้า
ราคาปก : 240 บาท
ซื้อได้ที่ (affiliate):
– Shopee: https://shope.ee/4poScIBrPN
– Lazada: https://s.lazada.co.th/s.PG5vM?cc