สัปดาห์ก่อนมาฝังเข็มรักษาไมเกรนที่คลินิกหัวเฉียวแพทย์แผนจีน ครั้งที่ 18 (วันที่ 9 ธันวาคม 2565) นับจากวันนั้นมีอาการปวดไมเกรนแค่ 1 วัน คือวันอังคารที่ 13 ธันวาคม 2565 วันถัดจากที่ไปกินตุ้ยหมูกระทะ ตื่นเช้ามาก็ปวดไมเกรนทันที แต่ก็ปวดเบาๆ ไม่ได้ปวดหนักเหมือนช่วงก่อนรักษาด้วยการฝังเข็ม แต่ก็กินยาไป 1 เม็ดเท่านั้น
ครั้งที่ 19 ตรงกับวันที่ 14 ธันวาคม 2565 (อย่างที่เคยบอกในบทความก่อนๆ คุณหมอที่ฝังเข็มให้เรา เขาจะเข้าแค่ จันทร์ พุธ และศุกร์) ความยากของวันนี้คือ เช้าวันนี้ กทม. อากาศค่อนข้างเย็นเลย ราวๆ 19 องศา แล้วการฝังเข็มมันต้องถอดเสื้อด้วย ซึ่งบอกเลยว่าหนาว
ฝังเข็มรักษาไมเกรน ที่คลินิกหัวเฉียวแพทย์แผนจีน ครั้งที่ 19 ครั้งนี้คุณหมอให้นั่งฝังเข็ม วิธีคือนั่งบนเก้าอี้ แล้วเอาหมอนเรียงขึ้นมาให้พอดีระดับหน้า แล้วเอาหน้าฟุบลงที่หมอน (เอาหน้าผากแตะหมอน) ดูเป็นท่าที่ไม่ได้สะบายมากหนัก แต่ดีกว่านั่งตัวตรงแน่นอน เพราะการฝังเข็ม มันมีโอกาสที่เราจะหน้ามืด หรือมาเข็มได้ (หมอถึงบอกตลอดว่าให้กินข้าวก่อนมาฝังเข็ม)
เกือบลืม เราเขียนถึงการการมาฝังเข็มหลายบทความแล้ว แต่ไม่ได้พูดเรื่องเรื่องขั้นตอนเลย ก่อนฝังเข็มทุกครั้ง ต้องวัดความดันก่อน ถ้าความดันไม่ผ่านต้องนั่งพักแล้ววัดใหม่ จากนั้นค่อยไปนั่งรอหน้าห้องฝังเข็ม แล้วจะมีพยาบาลออกมาเรียก (รอไม่นานนะ นานสุดก็ 5-10 นาที) แต่รอบนี้พิเศษ คือคุณหมอเดินออกมาเรียกเอง เข้าใจว่าพยาบาลน่าจะงานยุ่ง คุณหมอก็ไม่ถือตัว หยิบใบนัดแล้วออกมาเรียกเองเลย
ฝังเข็มรักษาไมเกรนรอบนี้เหมือนเดิมทุกขั้นตอน ฝังหมดทั้งหมด 32 เข็ม และกระตุ้นไฟฟ้า 2 จุด และมีไฟอุ่นให้บริเวณที่ฝังเข็ม ฝังเข็มเป็นเวลา 20 นาที จากนั้นต่อด้วยครอบแก้วอีก 5 นาที เสร็จก็รับใบนัดรอบต่อไป แล้วจ่ายตังค์กลับไปทำงานต่อ
ค่ารักษาฝังเข็มรักษาไมเกรนที่คลินิกหัวเฉียวแพทย์แผนจีน ครั้งที่ 19
- ค่าตรวจรักษา 450 บาท
- ค่าบริการพื้นฐาน 150 บาท
- ค่าเข็ม 32 คิดตามจำนวนเล่มที่ฝัง เล่มละ 5 บาท รวม 160 บาท
- ค่าไบโอ 40 บาท
- ค่ากระตุ้นไฟฟ้า 50 บาท
- ค่าครอบแก้ว 50 บาท
รวมทั้งหมด จ่ายไป 900 บาท
จบการฝังเข็มรักษาไมเกรน ครั้งที่ 19 นัดมาฝังเข็มอีกทีคือ วันพุธ ที่ 21 ธันวาคม 2565 เลย เพราะช่วงนี้คิวแน่นมาก ไม่ค่อยสะดวกเดินทางมาแล้ว