ยารักษาอาการซึมเศร้าและยาคลายเครียด มันคือ “คำสาป” มากกว่าการให้พร

ยารักษาอาการซึมเศร้า - pexels dids 1424538 - ภาพที่ 1
ผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าและเป็นโรควิตกกังวล มักจะได้รับยารักษาอาการซึมเศร้าและยาคลายเครียด แพทย์และนักบำบัดหลายคนเชื่อว่า ยาจะสามารถช่วยเหลือคนไข้ที่มีอาการได้เร็วที่สุด ก็ต่อเมื่อใช้ยาเหล่านี้ช่วยสนับสนุนให้เกิดความสมดุลทางจิตอีกครั้ง จึงไม่น่าประหลาดใจที่อย่ารักษาอาการซึมเศร้านับเป็นหนึ่งในยาที่สั่งให้แก่ผู้ป่วยมากที่สุดในโลก

แต่ในความเป็นจริงแล้วยาต้านเศร้าและยาคลายเครียดที่มักถูกให้คนไข้ ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสมองในเชิงโครงสร้างได้อย่างดีเยี่ยม ยาเหล่านี้ทำได้มากที่สุดคือช่วยบรรเทาความรู้สึกหวาดกลัววิตกกังวลได้บ้างเท่านั้น

คนที่มีอาการป่วยซึมเศร้าหรือหวาดกลัววิตกกังวลจะมีสารเซโรโทนินและสารนอร์เอพิเนฟรินในสมองน้อยเกินไป สารสื่อประสาททั้ง 2 มีหน้าที่ทำให้เรารับรู้ความดีใจและสบายใจได้ ยารักษาอาการซึมเศร้าและยาแก้ความหวาดวิตกกังวลจึงทำหน้าที่ทำให้สารสื่อประสาททั้งสองนี้ผลิตได้มากขึ้นอีกครั้ง แต่นี่คือในทางทฤษฎี

เราเคยอ่านมาว่าในทางปฏิบัติมันไม่ได้เป็น เช่นนั้น เราเคยอ่านหนังสือ วิธีเอาชนะโรควิตกกังวลและการแพนิคเฉียบพลัน ระบุว่า มีคนไข้จำนวนมากที่ได้รับยารักษาอาการซึมเศร้ามากถึง 5 ชนิด เพราะว่าไม่มียาส่วนไหนที่ออกฤทธิ์หน้าพึงพอใจ มันเหมือนเป็นการงมเข็มในมหาสมุทร เพื่อหวังว่าจะบังเอิญเจอยาที่บังเอิญออกฤทธิ์ทำให้รู้สึกสบายขึ้นมาได้

และมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้บางชิ้นที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวอร์เนียร์เจย์โฟเนีย ได้พิสูจน์จากการศึกษาเปรียบเทียบงานวิจัยจำนวน 6 ชิ้นว่า ยารักษาอาการซึมเศร้าจะออกฤทธิ์ที่สามารถวัดได้เฉพาะในกรณีที่มีอาการซึมเศร้ารุนแรงเท่านั้น กลุ่มคนไข้ที่ใช้ยาประเภทดังกล่าวจะพบว่ามีเพียง 25% ของคนไข้ที่ใช้ยารักษาอาการซึมเศร้าเท่านั้น ที่ยาออกฤทธิ์เชิงบวก

และอีกประมาณ 75% ของคนไข้ที่ใช้ยาอาการซึมเศร้าไม่ได้รับผลเชิงบวกแต่อย่างใด คือแม้จะรู้สึกดีขึ้นแต่ก็ยังมีผลข้างเคียงที่น่าอึดอัดใจหลายอย่าง

เพราะยารักษาการซึมเศร้าไม่ได้จัดการตรงจุดที่เกิดปัญหาขึ้น ซึ่งก็คือการเชื่อมต่อเซลล์ประสาทของสมอง แต่เป็นการจัดการสารซื่อประสาทมากกว่าโดยหวังว่าเราจะรับรู้บางอย่างที่รู้สึกเป็นภาระน้อยลง

ในหนังสือที่เราเคยอ่านเปรียบเทียบว่า การกินยารักษาการซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว เหมือนกับการมีรถยนต์ที่มีรูรั่วในระบบน้ำเย็น แต่แทนที่เราจะซ่อมรู้รั่ว เรากลับเติมน้ำเย็นเข้าไปทุกวันเพื่อไม่ให้เครื่องยนต์เสีย

สำหรับอาการหวาดกลัววิตกกังวลก็เช่นเดียวกัน จะดีกว่าถ้าเปลี่ยนแปลงสมองในทางโครงสร้าง โดยใช้แบบฝึกเพื่อให้อาการหวาดกลัวกังวลยุติลงตรงจุดที่มันเกิดขึ้นมา ซึ่งก็คือกระบวนการคิดโดยอัตโนมัติของสมอง

ตามหลักการแล้วยาต้านอาการหวัดกลัววิตกกังวลทั้งหลายไม่ได้ต่างจากการเติมน้ำเย็นในรถ เราแค่เลื่อนการซ่อมแซมที่จำเป็นออกไปแต่ปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด

แต่อย่างไรเสีย การกินยาก็ยังคงมีความจำเป็น แต่ควรต้องทำควบคู่กันก่อนการ บำบัด การฝึกวิธีคิด สร้างการเรียนรู้ใหม่ให้สมอง และแก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหา