[รีวิว] #หนังสือน่าอ่าน วิธีเอาชนะโรควิตกกังวลและอาการแพนิกเฉียบพลัน หนังสือที่คนเป็นแพนิค วิตกกังวลควรอ่าน [เล่มที่ 19 ของปี 2023]

วิธีเอาชนะโรควิตกกังวลและอาการแพนิกเฉียบพลัน - photo 2023 03 01 21 27 42 - ภาพที่ 1

ปล. ในหนังสือใช้คำว่า แพนิก สะกดด้วย ก แต่เราขอใช้ แพนิค ที่สะกดด้วย ค แทนละกัน เนื่องจากค้นหาข้อมูลแล้วมีคนใช้คำนี้มากกว่า

หนังสือ วิธีเอาชนะโรควิตกกังวลและอาการแพนิกเฉียบพลัน เป็นหนังสือที่แปลมาจากต้นฉบับภาษาเยอรมัน ที่ถูกเขียนขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญในด้านการรักษาโรควิตกกังวล โดย เคลาส์ เบิร์นฮาร์ดท์ ผู้เขียนได้รวบรวมประสบการณ์ส่วนตัวที่ผ่านการช่วยเหลือคนที่มีอาการแพนิคเฉียบพลัน ที่มารักษาที่คลินิกจิตบำบัดของตัวเอง และถือเป็นนักบำบัดคนแรกของประเทศเยอรมนีที่ใช้แนวทางใหม่ของการบำบัด ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากงานวิจัยสมองสมัยใหม่แตกต่างไปจากการรักษาแบบเดิมที่ใช้กันเป็นมาตรฐาน

เคลาส์ เบิร์นฮาร์ดท์ ไม่ใช้ทฤษฎีการเผชิญหน้า ไม่มีแบบฝึกการหายใจ ไม่มีการค่อย ๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ทั้งยังไม่มีการขุดลึกเรื่องราวสมัยเด็ก ที่สำคัญผู้เขียนปฏิเสธการใช้ยาต้านอาการซึมเศร้าและยานอนหลับอย่างเข้มงวด แต่ยินยอมที่จะใช้เพียงเล็กน้อยในกรณีจำเป็นเท่านั้น ซึ่งความสำเร็จของเขาเห็นได้จากการที่คนไข้มากกว่า 70% ของเขาสามารถกำจัดอาการแพนิคเฉียบพลันได้โดยสิ้นเชิง หลังจากการพบกันเพียง 6 ครั้ง

โดยผู้เขียนให้แนวคิดไว้ว่า แม้กระทั่งยาต้านเศร้าและยาคลายเครียดที่มักจะถูกจ่ายให้กับคนไข้ ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสมองในเชิงโครงสร้างได้อย่างดีเยี่ยมแต่อย่างใด ยาเหล่านี้ทำได้มากที่สุดคือช่วยบรรเทาความรู้สึกหวาดกลัววิตกได้บ้างเท่านั้น

เนื้อหาในหนังสือจะแตกต่างจากเนื้อหาในหนังสือ จัดการวิตกกังวลวัยรุ่น ที่เราเพิ่งอ่านจบไป เรียกได้ว่าทฤษฎีในเล่มนั้น ถูกตีตกด้วยทฤษฎีใหม่บนหนังสือเล่มนี้ หากใครเคยอ่านหรือเคยทำจิตบำบัดเกี่ยวกับโรคแพนิคมาก่อน การจะอ่านหนังสือเล่มนี้ต้องเปิดใจอ่านพอสมควร เพราะด้วยทฤษฎีที่แตกต่างจากที่ใช้ในกิจกรรมบำบัดหรือแม้แต่หนังสือที่เราเคยอ่าน เรียกได้ว่าหักล้างทฤษฎีที่เราเคยรู้มาแบบสิ้นเชิง

โดยผู้เขียนนำเสนอวิธีการบำบัดโรควิตกกังวลแบบใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการของสมองของเรานั่นเอง ซึ่งจะมีวิธีการฝึกและปฏิบัติอยู่ในบทที่ 5 ท้ายเล่ม แบบฝึกง่ายและวิธีง่ายๆ ทำให้ผู้ป่วยโรควิตกกังวลและมีอาการแพนิคเฉียบพลันสามารถกลับไปใช้ชีวิตที่ปราศจากความหวาดกลัวได้อีกครั้งภายในไม่กี่สัปดาห์

เนื้อหาในหนังสืออธิบายว่า บ่อยครั้งที่ความคิดเชิงลบสามารถทำให้เกิดอาการแพนิคเฉียบพลันได้ โดยใช้พื้นฐานทางประสาทชีววิทยา ใครก็ตามที่คิดเชิงลบเป็นเวลานานพอสมควร ก็จะสร้างถนนหลวงทางความคิดที่นำไปสู่ความรู้สึกแย่ ๆ และความหวาดกลัววิตกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในทางตรงกันข้าม ความรู้สึกยินดีเรื่องสบาย ๆ ก็จะกลายเป็นเพียงแค่ซอยแคบ ๆ เท่านั้น

การเบี่ยงเบนความสนใจ เป็นวิธีการที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดและถูกนำมาใช้บ่อยที่สุด ในการจำกัดอาการหวาดกลัวและอาการแพนิคเฉียบพลันในระยะสั้น ในช่วงต้นของโรควิตกกังวลจำเป็นต้องใช้วิธีนี้แต่เมื่อดำเนินระยะต่อไปในระยะยาววิธีนี้กลับอาจก่อให้เกิดผลเสีย นั่นก็คือวิธีนี้ไม่ได้เป็นการรักษาแต่เป็นการถ่วงเวลาการเกิดอาการแพนิคเฉียบพลันครั้งต่อไปเท่านั้นเอง

และยิ่งเราเบี่ยงเบนความหวาดกลัวได้นานเท่าไหร่ อาการอาจจะยิ่งเพิ่มขึ้นมากขึ้นด้วย แทนที่จะได้จัดการกับตัวกระตุ้นที่แท้จริงที่ทำให้เกิดความหวาดกลัวกังวล

ที่สำคัญในระหว่างนี้เราก็รู้ว่าเราเป็นคนกระตุ้นให้เกิดอาการแพนิคเฉียบพลันเอง ซึ่งเกิดจากการเฝ้ารอให้อาการแพนิคเฉียบพลันกลับมา ความคิดที่ว่าหวังว่าจะไม่เกิดอาการแพลนอีกเฉียบพลันอีกนะเป็นการยืนยันได้ว่าอาการภายในเฉียบพลันจะกลับมาอย่างแน่นอน อาการกลัวความหวาดกลัวกังวลเป็นตัวกระตุ้นหลักที่ทำให้เกิดอาการภายในเฉียบพลัน การเบี่ยงเบนเป็นเพียงการชะลออาการระยะสั้นเท่านั้นไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาแต่อย่างใด

โดยในหนังสือเสนอ วิธี 10 ประโยคบันทึกข้อมูลในสมองใหม่ วิธีที่เร็วที่สุดก็คือใช้วิธีการฝึกฝนจิตใจที่เรียกว่าวิธี 10 ประโยค ความคิดพื้นฐานของวิธีนี้มีพื้นฐานตั้งอยู่บนคำถามง่าย ๆ ที่ว่า ชีวิตเราจะเป็นเช่นไรเมื่อมันดีเยี่ยมอย่างแท้จริง สิ่งสำคัญมากคือเราต้องเลือกใช้คำเชิงบวก

เพราะความคิดคือกระบวนการได้ยิน เมื่อเราคิดเราจะได้ยินเสียงของเราพูดดังขึ้นในหัว โดยจะมีกฎ 5 ข้อสำหรับใช้ภาษาสำหรับความคิดเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดเพื่อที่จะได้เชื่อมต่อกับสมองใหม่ได้ทันที ซึ่งตรงนี้เราอยากแนะนำไม่อ่านในหนังสือมากกว่าที่จะมาสรุปให้ฟังแต่เราจะพูดถึงบางข้อที่เรารู้สึกว่ามันจริงและเราชอบมากๆ

เราควรสร้าง 10 ประโยคที่ไม่มีการปฏิเสธ หมายความว่าประโยชน์ของเรานั้นไม่ควรมีคำปฏิเสธ เช่นไม่กลัวไม่กังวล เป็นตัวอย่างที่เป็นแบบฉบับของคำปฏิเสธ เพราะว่าสมองของเราไม่ได้อยู่ในสภาวะที่จะคิดปฏิเสธ เช่น

“ลองไม่คิดถึงหมีขี่จักรยานที่ไม่สวมแว่นกันแดดสีเข้มและไม่สะพายเป้สีเหลืองอยู่ด้านหลัง” เราไม่คิดภาพหมีแบบนี้ได้หรือไม่ แน่นอนว่าถ้าเราบอกแบบนี้กับสมองเรา ภาพในหัวเราก็จะเป็นหมีขี่จักรยานสวมแว่นกันแดดสีเข้มและสปายเป้สีเหลือง

ด้วยเหตุนี้เพื่อให้สามารถจัดการข้อมูลที่เราไม่ต้องคิดถึงได้ เราจำเป็นต้องสร้างภาพเหล่านั้นขึ้นมาก่อน เพื่อที่สมองของเราจะสามารถเชื่อมต่อได้ หมายความว่าทุกครั้งที่เราพูดว่า ฉันจะไม่ต้องมีอาการแพนิคเฉียบพลัน ก็ยิ่งทำให้สมองของเรารับรู้ถึงอาการภายในเฉียบพลันได้ง่ายกว่าเดิม

ส่วนที่เหลือสามารถอ่านต่อได้ในหนังสือเพิ่มเติมได้

เทคนิคที่บรรยายไว้ในหนังสือเล่มนี้เมื่ออ่านแล้วควรนำไปปรับใช้กับตัวเอง ก็จะสามารถจำกัดปัญหาได้ในทันทีและสมองของเราก็จะถูกบันทึกใหม่ด้วยตัวเองทำให้มีชีวิตที่เต็มไปด้วยความสุขและความยินดีปราศจากทั้งความหวาดกลัววิตกกังวลและความตื่นตระหนก

เพราะโดยหลักการแล้วสมองของเราจะบันทึกทุกสิ่งที่เราทำเป็นประจำโดยอัตโนมัติ ซึ่งนี่รวมถึงการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่ การแปรงฟัน การขับรถ การพิมพ์โดยใช้นิ้วทั้ง 10 รวมทั้งการวิตกกังวลและการวางแผนที่จะตื่นตระหนก

ถ้าหากเรามีใบขับขี่และการฝึกหัดขับรถมาแล้ว คนขับรถที่มีประสบการณ์ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความคิดที่มีสติแม้เพียงนิด สำหรับการไตร่ตรองว่า เมื่อไหร่จะต้องเปลี่ยนเกียร์ จะต้องเลี้ยว หรือว่าตอนนี้เครื่องยนต์อยู่ที่ความเร็วระดับใด หรือแม้แต่เมื่อครู่ใช้เกียร์ใดขับ เมื่อไหร่ต้องมองกระจกหลัง ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่คนเพิ่งหัดขับรถจะรู้สึกได้รับความกดดัน แต่สำหรับคนที่ขับรถเป็นและมีประสบการณ์สามารถทำมันได้โดยอัตโนมัติ

การที่เราฝึกสมองบ่อย ๆ ก็เปรียบเทียบได้กับการขับรถนี่แหละ