หนังสือเล่มที่ 119 ของปี 2023 ที่อ่านจบ ชื่อหนังสือว่า เพราะฉันแตกต่าง จึงบริหารเวลาแบบนี้ ผู้เขียน Yu Suzuki (ยู ซึซึกิ) ผู้แปล เกวลิน ลิขิตวิทยาวุฒิ เป็นหนังสือจากสำนักพิมพ์บิงโกที่ส่งมาให้อ่าน หนังสือเกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลาด้วยวิธีเฉพาะที่ตรงกับนิสัยคุณ จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ 4,063 ชิ้น ถ้าคุณเคยเหนื่อยล้ากับการบริหารเวลาในแต่ละวันทั้ง… หนังสือเล่มนี้จะบอกวิธีที่เหมาะกับคุณมากกว่านั้นให้เอง
ซื้อหนังสือ
– Lazada: https://s.lazada.co.th/s.knkdb?cc
– Shopee: https://shope.ee/2AmMqdMqhI
เกริ่นนำ
“ซูซูกิ ยู” คือนักเขียนสายวิทย์ที่มีคนอ่านเพจกว่า 2.5 ล้านคนต่อเดือน เขาทุ่มเวลาศึกษางานวิจัยกว่า 4,063 ชิ้น เพื่อค้นหาว่า “วิธีบริหารเวลาแบบไหนดีที่สุด?” ในที่สุดเขาก็พบคำตอบแสนเรียบง่ายว่า “แต่ละคนมีวิธีเฉพาะในแบบของตัวเอง” สิ่งที่ซูซูกิค้นพบคือ ถึงทุกคนมี 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่เรา “รับรู้เวลา” ได้ไม่เท่ากัน และเราก็ “คำนวณเวลา” ที่ต้องใช้ไม่เคยตรงกัน
ดังนั้นเราต้องเลือกวิธีให้เหมาะกับนิสัยของเรา เช่น วิธีสำหรับคนสุด productive แต่เริ่มไม่มีความสุขในชีวิต วิธีสำหรับคนคิดบวกจนมักคำนวณเวลาผิดพลาดไปหมด วิธีสำหรับคนที่คิดว่าตัวเองไม่เก่งพอจนชอบผัดวันประกันพรุ่ง ฯลฯ แค่เลือกวิธีบริหารเวลาให้เหมาะ ชีวิตคุณก็จะง่ายขึ้นในพริบตา
สรุปข้อคิดจากหนังสือ “เพราะฉันแตกต่าง จึงบริหารเวลาแบบนี้”
แต่ละคนมีนิสัยที่เหมาะกับเทคนิคต่างกัน ไม่มีเทคนิคใดเทคนิคหนึ่งที่เหมาะสมกับทุกคน
แม้คุณจะใช้เทคนิคบริหารเวลาอย่างเต็มที่ ประสิทธิภาพการทำงานของคนก็ไม่ได้สูงขึ้นสักเท่าไหร่
ยิ่งควรใส่ใจกับประสิทธิภาพของเวลามากขึ้นเท่าไหร่ งานของคุณก็จะมีประสิทธิภาพลดลงเท่านั้น
คนส่วนใหญ่อยากใช้เทคนิคบริหารเวลาเพื่อเพิ่มผลลัพธ์การทำงาน แต่ที่จริงมันไม่ได้ช่วยอะไรมากขนาดนั้น มันช่วยพัฒนาสภาพจิตใจมากกว่า
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเวอทซ์บวร์คได้ให้นักธุรกิจชาวเยอรมันฝึกใช้เทคนิคบริหารเวลา พบว่าทำงานได้ดีขึ้นไม่มากนัก แม้ทุกคนจะได้เรียนรู้เทคนิคบริหารเวลาหลากหลายรูปแบบ
ไม่ว่าจะใช้เทคนิคอะไรก็ตาม คุณภาพและปริมาณของงานก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก ผลลัพธ์ที่สังเกตได้มีเพียงแค่ความพึงพอใจที่ผู้เข้าร่วมงานวิจัยรู้สึกได้เท่านั้น
เราควรต้องเลิกผูกเรื่องเทคนิคบริหารเวลาและ productivity เข้าด้วยกัน เราควรคิดว่าเทคนิคบริหารเวลาเป็นวิธีเพิ่มความสุขต่างหาก
งานวิจัยล่าสุดใน 10 ปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าการให้ความสำคัญกับ productivity นำไปสู่ผลสำเร็จของงานที่ลดลง
การแสวงหา productivity ทำให้เราตัดสินใจได้แย่ลง ยิ่ง productivity เพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ความคิดสร้างสรรค์ก็ลดลงมากขึ้นเท่านั้น
ยิ่งให้ความสำคัญกับการใช้เวลาให้คุ้มค่ามากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งคิดไอเดียดีๆ ได้ยากเท่านั้นและแก้ปัญหาได้ย่ำแย่ลงด้วย
ถ้าเราอยากเพิ่ม productivity และกังวลเรื่องเวลาอยู่ตลอด เราจะคิดแคบอย่างเดียวโดยไม่คิดกว้างเลย ผลลัพธ์ก็คือความคิดสร้างสรรค์จะลดลงส่งผลให้ไอเดียต้องหยุดชะงักไป
เทคนิคจัดลำดับความสำคัญนั้นเป็นการจัดการแรงจูงใจ ไม่ใช่การจัดการเวลา เราไม่ได้ใช้เวลาได้เก่งขึ้นเพราะรู้ว่างานไหนเร่งด่วนหรือสำคัญ แต่เพราะเราเพิ่มแรงจูงใจให้งานที่ควรจะทำ นั่นคือเหตุผลที่เทคนิคนี้ช่วยเพิ่ม productivity ของบางคน
ทุกคนมี 24 ชั่วโมงเท่ากัน ดังนั้นต่อให้จัดตารางงานให้ดีแค่ไหนหรือประเมินเวลาที่จำเป็นได้ถูกต้องเพียงใด เวลาก็ยังเท่าเดิมอยู่ดี
ทั้งอดีตและอนาคตมีตัวตนอยู่เพียงในความคิดของเรา สิ่งที่เราสัมผัสได้จริงมีแค่ปัจจุบัน ดังนั้นเดิมทีแล้ว กระแสเวลานั้นเป็นแค่สิ่งที่สมองสร้างขึ้นมา
เหล่าผู้ที่มี productivity ที่เพิ่มจากเทคนิคบริหารเวลานั้น ทุกคนพัฒนาความสามารถในการทำงานได้ดีขึ้นในแง่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเวลา
ถ้าเราอยากใช้เวลาให้คุ้มค่า เราก็ต้องหากรอบการบริหารเวลาที่เหมาะสมกับเราให้เจอ
มนุษย์ไม่มีอวัยวะสัมผัสเวลาเราจึงทำได้แค่รู้สึกถึงปัจจุบัน มนุษย์ไม่สามารถรู้สึกถึงกระแสของเวลาได้ เราแค่เรียกอัตราการเปลี่ยนแปลงของโลกว่า “เวลา”
สิ่งที่เรียกว่า “เวลา” ที่เรารู้สึกเป็นเพียง “การคิดถึงอนาคตและการนึกถึงอดีต” ที่เกิดขึ้นในสมองของเรา
ไม่ว่าจะใช้เทคนิคบริหารเวลาที่เป็นที่รู้จักขนาดไหน แต่ถ้าไม่เหมาะสมกับตัวคุณก็เปล่าประโยชน์
ในงานที่เราทำทุกวันนั้น บ่อยครั้งคือการยอมสละความปรารถนาในปัจจุบัน เพื่อทำให้ตัวเราในอนาคตพอใจ
ปลดปล่อยตัวเองจากประสิทธิภาพ เพราะการใช้เวลาให้มีประสิทธิภาพทำให้เวลาไม่เพียงพอ
คนยุคปัจจุบันมีแรงกดดันเยอะมากจากแนวคิดชีวิตต้องลงมือทำเท่านั้นจนคนหนุ่มสาวจำนวนมากต้องทุกข์ทนจากอาการป่วยทางจิต
ยิ่งเร่งรีบ productivity ยิ่งลดลง คนที่ทำงานภายใต้เจ้านายที่ให้ความสำคัญกับเป้าหมายและ productivity มักจะมีความเครียดสูง แรงจูงใจในการทำงานลดลง
ยิ่ง productivity มากขึ้นเท่าไหร่คุณก็ยิ่งยุ่งมากขึ้นเท่านั้น ไม่ productivity ของคุณจะเพิ่มมากแค่ไหนปริมาณงานที่คุณต้องทำก็จะเพิ่มขึ้นตามนั้น และความยุ่งของคุณจะไม่ดีขึ้นเลย
คุณต้องทำลายคำสาปของ productivity และประสิทธิภาพออกจากความคิดของคุณก่อน ตราบใดที่คุณไม่ทำเช่นนั้น คุณจะรู้สึกกดดันโดยเวลาอยู่เสมอ
ในโลกที่ทุกอย่างเร็วเกินไปและมากเกินไปสมองจะแยกแยะได้ยากว่าเรื่องไหนสำคัญ เรื่องไหนไม่สำคัญ กลายเป็นว่าคุณต้องมานั่งตีความแม้แต่สิ่งที่ไม่สำคัญ ราวกับว่ามันมีความสำคัญ แทนที่จะมุ่งเน้นจัดสรรทรัพยากรไปกับสิ่งที่สำคัญจริงๆ ในชีวิต
ถ้าคุณมัวแต่จัดการกับความเป็นไปได้ทุกอย่างในอนาคตคุณจะไม่มีวันเห็นจุดจบ ไม่น่าแปลกใจที่ต้องทุกข์ทนกับการไม่มีเวลาเรื้อรังต่อไป
ช่องทางซื้อหนังสือ
ซื้อหนังสือ
– Lazada: https://s.lazada.co.th/s.knkdb?cc
– Shopee: https://shope.ee/2AmMqdMqhI