เวลามีคนอื่นถามถึงนิสัยเรา เรามักจะรู้สึกว่าการอธิบายพฤติกรรมและนิสัยของตัวเองด้วยคำคำเดียวนั้นเป็นเรื่องยาก เช่น มีคนถามเราว่าเราเป็นคนเปิดเผยหรือไม่ คำตอบที่เราจะตอบก็คงเป็น “แล้วแต่สถานการณ์” ขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์นั้น มีคนที่เราสนิทมากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าต่อหน้าคนที่ไม่รู้จักเลยเราก็จะเงียบมาก
คนเรามักรู้สึกว่าการอธิบายพฤติกรรมตัวเองด้วยคำ ๆ เดียวเป็นเรื่องยาก แต่เชื่อไหมว่าเมื่อถามคำถามเดียวกัน เปลี่ยนจากอธิบายพฤติกรรมตัวเองเป็นอธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมและนิสัยของคนอื่น ส่วนใหญ่เราจะต่อเป็นคำตอบอย่างมั่นใจว่าคนนั้นเป็นคนอย่างไร
เพราะพฤติกรรมของคนอื่นนั้นอธิบายได้ด้วยปัจจัยต่าง ๆ นานาได้ง่ายกว่า เช่น นิสัยหรือความเชื่อของเขา แต่กับพฤติกรรมของตัวเราเองกับอธิบายด้วยเหตุผลที่เป็นไปตามสถานการณ์ เรามักไม่ได้ตัดสินตัวเองจากเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราจะดูสถานการณ์ก่อน
เช่น ถ้ามีใครคนนึงนัดแล้วมาสาย เรามักจะมองว่าไม่รับผิดชอบ ไม่ตรงต่อเวลา ไม่รักษาเวลา กลับกันถ้าเรามาสาย เราจะมองอ้างอิงตามสถานการณ์ เช่น วันนี้ฝนตก วันนี้รถติด
หรือมีใครสักคนที่ลืมวันเกิดของเรา เราจะอธิบายสิ่งที่เขาทำกับเราโดยอ้างอิงจากปัจจัย นิสัย หรือ ความเชื่อ กลายเป็นว่าการที่เขาคนนั้นลืมวันเกิดของเรานั่นเป็นเพราะเขาไม่ให้ความสำคัญเรา แต่การที่เราลืมวันเกิดของเขานั่นเป็นความผิดพลาดที่เราไม่ได้ตั้งใจ
การที่คนอื่นทำผิดพลาด ก็เพราะเดิมทีเขาเป็นคนแบบนั้นอยู่แล้ว ส่วนที่ตัวเองทำพลาดเพราะเราไม่ได้ตั้งใจ
เวลามีคนมาใช้คำรุนแรงกับเรา เราก็ตัดสินไปแล้วว่า ก็เธอคิดแบบนั้นจริง ๆ จึงใช้คำรุนแรงได้อย่างไม่ลังเล ส่วนเราแค่พูดผิดไปโดยไม่ได้เจตนา เป็นการหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองตลอด
เรามักตัดสินพฤติกรรมของคนอื่นในลักษณะนี้และด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดความหมาดหมาง เกิดความเข้าใจผิด เพราะเรากำหนดว่า “ก็เธอหรือเขาเป็นแบบนั้นอยู่แล้ว” โดยไม่ได้คำนึงถึงสถานการณ์ที่ทำให้อีกฝ่ายต้องทำอย่างนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กลับกันในเรื่องของตัวเองเราจะคำนึงถึงสถานการณ์ที่ทำให้เราต้องเป็นแบบนั้น
นักจิตวิทยาเรียก “ตัวเอง” ว่า “อำนาจเผด็จการ” เพราะ “ตัวเอง” ตัดสินวิธีการมองโลกของเราอยู่เพียงฝ่ายเดียว เหมือนอำนาจเผด็จการที่แทรกแซงและควบคุมทุกสิ่งที่ ประชาชนอ่าน พูด และดู
เราควรอธิบายพฤติกรรมของคนอื่น ด้วยวิธีการเดียวกับที่อธิบายพฤติกรรมตัวเอง