[รีวิว] สรุปข้อคิดจากหนังสือ “เรามีโอกาสเปลี่ยนชีวิต เมื่อเราเปลี่ยนคำถาม : Change Your Questions, Change Your Life” [เล่มที่ 111 ของปี 2023]

เรามีโอกาสเปลี่ยนชีวิต เมื่อเราเปลี่ยนคำถาม - krapalm 2023 08 25 161528 - ภาพที่ 1

นี่คือหนังสือเล่มที่ 111 ของปี 2023 ที่อ่านจบ ชื่อหนังสือว่า “เรามีโอกาสเปลี่ยนชีวิต เมื่อเราเปลี่ยนคำถาม : Change Your Questions, Change Your Life” จากสำนักพิมพ์ WeLearn เขียนโดย Ph.D. Marilee Adams ผู้แปล พรรณี ชูจิรวงศ์ หนังสือที่บอกเราว่า เมื่อชีวิตสับสนเหนื่อยล้า ลองเลิกหาคำตอบ และเริ่มตั้งคำถาม แล้วเส้นทางที่ดีกว่าจะปรากฏขึ้นมาเอง และต้องขอบคุณทางสำนักพิมพ์ WeLearn ที่จัดส่งหนังสือมาให้อ่าน

ซื้อหนังสือ:
– Lazada: https://s.lazada.co.th/s.k5WIj?cc
– Shopee: https://shope.ee/9KFFfTI8lX

หนังสือ “เรามีโอกาสเปลี่ยนชีวิต เมื่อเราเปลี่ยนคำถาม” เล่มนี้ จะพาคุณไปพบกับเรื่องราวของ “เบน” ตัวละครที่ผู้เขียนสร้างขึ้น โดยอิงจากบรรดาลูกค้าในชีวิตจริงที่ผู้เขียนให้คำปรึกษามาตลอดสามสิบปี เมื่อ “เบน” เคยเชื่อมั่นในทักษะการแก้ปัญหาของตัวเองมาตลอด ไม่ว่าปัญหาจะซับซ้อนเพียงใด เขาก็หาคำตอบได้ทุกครั้ง และนั่นก็พาให้เขาประสบความสำเร็จแบบพุ่งทะยาน แต่ไม่ใช่ครั้งนี้ ไม่ใช่กับบริษัทใหม่ที่เขาเพิ่งย้ายมา ทีมของเขาทำผลงานได้ไม่ดี และมีแต่จะสร้างปัญหา ในฐานะหัวหน้าทีม เขากำลังจะล้มเหลว ซ้ำร้ายยังประคับประคองชีวิตแต่งงานเอาไว้แทบไม่ได้

สรุปข้อคิดจากหนังสือ “เรามีโอกาสเปลี่ยนชีวิต เมื่อเราเปลี่ยนคำถาม”

วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาคือต้องเริ่มจากคำถามที่ดีกว่าเดิมก่อนเป็นอันดับแรก

เราไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีคิดแบบเดียวกับที่เราใช้ตอนสร้างปัญหาขึ้นมา ถ้าจะแก้ปัญหาเราก็จำเป็นต้องเปลี่ยนคำถามก่อนเป็นอันดับแรก ไม่อย่างนั้นเราอาจจะได้แต่คำตอบเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ถามให้มาก พูดให้น้อย และสนใจใคร่รู้อยู่เสมอ และจงทำเช่นนี้กับทุกเรื่อง

เราเลือกไม่ได้หรอกว่าสิ่งใดจะเกิดหรือไม่เกิด แต่เราเลือกได้ว่าจะตีความสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วยังไง และจะทำอะไรต่อไป

เมื่อคนสองคนเริ่มขัดแย้งกัน คนที่สังเกตเห็นความเป็นผู้ตัดสินในตัวเองก่อน จะสามารถพลิกสถานการณ์ได้

ยิ่งมีความสามารถในการสังเกตตัวเองมากเท่าไหร่ ยิ่งควบคุมความคิด ความรู้สึก และการกระทำของตัวเองได้ดีขึ้นเท่านั้น และจะถูกควบคุมโดยผู้อื่นหรือสถานการณ์ได้น้อยลง

หัดตั้งคำถามใหม่ๆ ที่จะพาคุณเข้าไปในดินแดนของผู้เรียนรู้ ถ้าคุณไม่ควบคุมคำถาม คำถามก็จะควบคุมคุณ

เมื่อคนทำตัวเป็นผู้ตัดสิน ความเสียหายร้ายแรงอาจจะเกิดขึ้นได้ อนาคตย่อมไม่ต่างจากอดีตที่ถูกรีไซเคิล แต่ถ้าคุณใช้กรอบความคิดของผู้เรียนรู้ ทุกอย่างจะพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ แล้วคุณจะสร้างอนาคตใหม่ให้กับตัวเองได้

เมื่อเปลี่ยนคำถาม ผลลัพธ์ก็จะเปลี่ยนไปด้วย

ในทุกชั่วขณะมีสิ่งต่างๆ ทั้งดีและร้ายเกิดขึ้น มันพุ่งเข้ามาโดยที่เราไม่รู้ตัว แล้วถ้าเราติดนิสัยผู้ตัดสิน คำถามของเราก็มักเป็นไปในทางนั้นซ้ำๆ แต่ถ้าเราพลิกกลับมาอยู่ในโหมดของผู้เรียนรู้ เราก็จะตั้งคำถามต่างออกไปได้ คำถามที่ทำให้เราได้เรียนรู้

จำหลักการพื้นฐานง่ายๆ คือ ความคิดชี้นำการกระทำ สิ่งที่คุณคิดจะกลายเป็นสิ่งที่คุณทำ

การเลือกคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์เราเป็นมนุษย์เรามีสาระที่จะเลือกกรอบความคิดของตัวเองเสมอถึงแม้จะต้องฝึกฝนและต้องใช้ความกล้าในบางครั้งก็ตาม

แม้คนเราจะมีความสามารถในการเลือก ไม่ได้หมายความว่าเราจะควบคุมผลลัพธ์ได้โดยสมบูรณ์ ไม่ว่าเราจะหวังให้เป็นเช่นนั้นมากแค่ไหนก็ตาม

อิสระภาพสุดท้ายของมนุษย์ นั่นคืออิสระภาพที่จะเลือกทัศนคติของตัวเองในสถานการณ์ใดๆ ก็ตาม อิสรภาพที่จะเลือกเส้นทางของตัวเอง

ความเป็นมนุษย์ยากที่จะแก้ การตีตรานั้นทำได้ง่าย แต่เมื่อติดไปแล้วก็ยากที่จะดึงออกเหมือนแสตมป์ที่มีกาวในตัว

การตีตราผู้อื่นยังมีปัญหาในตัวมันเอง เช่น คุณจะทำตัวห่างเหิน มีส่วนร่วมน้อยลง และอาจถึงขั้นสร้างกำแพงกับเพื่อนร่วมงาน มิตรสหาย หรือสมาชิกในครอบครัวโดยไม่รู้ตัว

การคิดเชิงตั้งคำถามเป็นเรื่องของการตระหนักว่า เรากำลังใช้กรอบคิดแบบไหน เพื่อช่วยให้เราสามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ต้องการได้มากขึ้น

เมื่อเราทำตัวเป็นผู้ตัดสิน ไม่ว่าจะที่บ้านหรือที่ทำงาน ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันอาจกลายเป็นภูเขาลูกใหญ่ที่ไม่อาจข้ามไปได้

การกล่าวโทษทำให้เรามองไม่เห็นตัวเลือกและทางออกที่แท้จริง แต่การรับผิดชอบช่วยปูทางสู่อนาคตที่ดีกว่า

เมื่อเกิดปัญหา ถ้าเราถามตัวเองว่าอะไรคือสิ่งที่ฉันอาจรับผิดชอบ มันจะทำให้เรามีอำนาจและช่วยให้เปิดรับความเป็นไปได้ใหม่ๆ เราจะมีอิสระในการสร้างตัวเลือก ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีได้

ถ้าคุณอยากค้นพบสิ่งใหม่ ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้ถ้าคุณยังเชื่อมั่นว่าตัวเองรู้คำตอบอยู่แล้ว การเห็นความสำคัญของความไม่รู้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม

จำไว้ว่า สมองจัดระเบียบและควบคุมทุกการเคลื่อนไหวในชีวิตเรา

บ่อยครั้ง…การเผชิญหน้ากับอุปสรรคอันยากลำบาก ก็ทำให้เราค้นพบจุดแข็งที่ยอดเยี่ยมที่สุดของตัวเอง และความเป็นไปได้มากมาย แต่บางครั้งกว่าจะค้นพบสิ่งเหล่านั้นเราก็ต้องขุดให้ลึกลงไป

เมื่อคุณใช้กรอบคิดใหม่ นั่นเท่ากับคนเข้าสู่โลกใบใหม่

เราไม่มีอำนาจควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นมากนัก แต่เราเลือกได้ว่าจะตอบสนองมันอย่างไร

ความกระหายใคร่รู้เป็นสิ่งที่ทำให้คุณกลายเป็นผู้เรียนรู้ได้รวดเร็วที่สุด มันเป็นตัวกระตุ้นชั้นดีที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลง

คำถามก็เหมือนโคมไฟที่เราแกว่งไกในยามมืด ซึ่งช่วยให้เรามองเห็นทาง

เราจะรู้ในสิ่งที่ไม่รู้ได้อย่างไร ถ้าเราไม่ถาม และทุกคำถามที่ไม่ได้ถามอาจเป็นวิกฤตที่รออยู่ คำถามที่ไม่ได้ถามคือประตูที่ไม่ได้เปิด

สิ่งสำคัญคือการสังเกตว่ามีคำถามไหนที่เราไม่เคยถามมาก่อนหรือเปล่า คำถามใหม่จะสร้างความแตกต่างได้มากที่สุด

เมื่อปล่อยวางเรื่องการกระทำที่ถูกหรือผิดแล้วเราก็จะมีพื้นที่ให้ได้สานสัมพันธ์กัน

การเรียนรู้คือจุดแข็งที่อยู่เหนือทุกจุดแข็ง เพราะมันทำให้จุดแข็งอื่นๆ ได้พัฒนาขึ้น