หลังจากเขียนแนะนำหนังสือ Future Skills ทักษะอนาคตที่ AI ทำแทนคุณไม่ได้ ไป ก็ได้เวลารีวิวให้ฟังหลังอ่านจบ เล่มนี้ถือเป็นเล่มที่ 54 ของปี 2023 ที่ผ่านจบ เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาอิงกับเทคโนโลยีเป็นหลัก
เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนโลกของเราไปอย่างมาก จนเด็กวัยเรียนส่วนใหญ่ในยุคนี้จะได้ทำงานที่ยังไม่ถือกำเนิดขึ้นในปัจจุบัน บริษัทเดลล์และสถาบันเพื่ออนาคตทำนายไว้ว่างานร้อยละ 85 ที่จะเกิดขึ้นในปี 2030 เป็นงานที่ยังไม่ได้รับการคิดค้นขึ้นมาในปัจจุบัน
หนังสือ “Future Skills ทักษะอนาคตที่ AI ทำแทนคุณไม่ได้” เล่มนี้เหมาะสำหรับใครก็ตามที่ต้องการเตรียมตัวเองให้พร้อมด้วยทักษะที่จำเป็นเพื่อความสำเร็จ ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่มต้นทำงาน มีความมั่นคงดีแล้วในสายงาน กำลังพิจารณาจะเปลี่ยนสายงาน กำลังต่อสู้ดิ้นรนกับความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมธุรกิจของคุณ หรือแค่ต้องการมองหาความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาที่เหมาะสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรม ตำแหน่งงาน หรือมีการศึกษาระดับใดก็ตาม
หนังสือ ทักษะอนาคตที่ AI ทำแทนคุณไม่ได้ พูดถึงทักษะทั้งหมด 20 อย่างด้วยกัน หนังสือเล่มนี้จึงไม่ใช่การสำรวจแต่ละทักษะแบบลงลึก แต่เป็นการสรุปสาระสำคัญอย่างไตร่ตรอง พร้อมด้วยการแนะแนวทางอันเป็นประโยชน์และเคล็ดลับมากมายซึ่งสามารถทำได้จริง
สรุปเนื้อหาหนังสือ Future Skills ทักษะอนาคตที่ AI ทำแทนคุณไม่ได้
การเปลี่ยนแปลงนี้มีแต่จะรวดเร็วขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเราก้าวเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 มันจะเปลี่ยนแปลงงานที่มนุษย์ทำเช่นเดียวกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งก่อนก่อน
พูดอีกแง่หนึ่งคือในอนาคตชุดทักษะและประสบการณ์ที่จำเป็นของแรงงานจะแตกต่างออกไปอย่างมาก ดังนั้น เมื่อนึกถึงทักษะที่จำเป็นเพื่อที่จะประสบความสำเร็จ เราไม่เพียงแต่ต้องพิจารณาถึงงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่ต้องนึกถึงงานซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย โลกในอนาคตจะมีงานจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และหลายส่วนของงานจะถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักร
งานเกือบทุกงานจะเปลี่ยนไปเมื่อปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์เข้ามาแบ่งงานจากเรามากขึ้น
แทนที่มันจะทำให้เราออกห่างจากมนุษย์สัญชาติมากขึ้น เชื่อว่าคลื่นลูกใหม่ของเทคโนโลยีนี้จะทำให้งานมีความเป็นมนุษย์มากขึ้นไม่ใช่น้อย สิ่งที่สามารถใช้ระบบการทำงานอัตโนมัติได้ก็ปล่อยให้ทำงานแบบอัตโนมัติไป ส่วนมนุษย์ก็รับผิดชอบงานซึ่งเหมาะสมกับเรามากกว่า นั่นคืองานที่ต้องพึ่งพาทักษะความเป็นมนุษย์อย่างมาก เช่น การตัดสินใจที่ซับซ้อน ความคิดสร้างสรรค์ การเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ความฉลาดทางอารมณ์ การคิดเชิงวิพากษ์ รวมถึงการสื่อสาร สิ่งเหล่านี้คือลักษณะของทักษะที่มนุษย์ทำได้ดีกว่าเครื่องจักรที่ฉลาดที่สุด
ทักษะทางอารมณ์และทักษะสังคมจึงมีความสำคัญในโลกยุคใหม่มากกว่าที่เราคิดเพราะเป็นทักษะที่ทำให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในโลกดิจิทัล โดยไม่ต้องไปแข่งขันกับเครื่องจักรในการทำงานอัตโนมัติง่ายๆ แน่นอนว่างานบางงานจำเป็นต้องใช้ทักษะทางด้านเทคนิค แต่ทักษะส่วนใหญ่ซึ่งเป็นที่ต้องการล้วนแต่เป็นทักษะทางอารมณ์และสังคม เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่เครื่องจักรทำไม่ได้นั่นเอง
1. ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
หมายถึง การมีทักษะสำคัญที่จำเป็นเพื่อหาทางรับมือกับโรคที่เป็นดิจิทัลมากขึ้น ทั้งในที่ทำงานชีวิตประจำวันและด้านการศึกษา
ซึ่งหมายถึงการมีความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับเทคโนโลยีได้อย่างง่ายดายและมั่นใจในทักษะดิจิทัศน์ของตัวเองไล่ตั้งแต่ทักษะพื้นฐานไปจนถึงความสามารถในระดับสูง
2. ทักษะความสามารถด้านข้อมูล
หมายถึง ความสามารถพื้นฐานในการเข้าใจและใช้ข้อมูลได้ เช่น การเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นต่องานของคุณและตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลอย่างครบถ้วน ทำงานกับข้อมูล ซึ่งอาจมีการสร้างข้อมูล รวบรวมข้อมูล จัดการข้อมูลเพื่อให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ และรวมถึงการเก็บข้อมูลให้ปลอดภัย
3. ทักษะด้านเทคนิค
หมายรวมถึงทักษะด้านวิชาการด้านต่างๆที่จำเป็นสำหรับงานหลายงาน อันเป็นประโยชน์และจำเป็นสำหรับการทำงานให้สำเร็จลุล่วง เช่นถ้าคุณเป็นนักบัญชีก็ควรมีทักษะด้านนักบัญชีมืออาชีพ เช่นเดียวกับช่างประปา พยาบาล คนขับรถบรรทุก ทนายความ
4. การตระหนักรู้ภัยคุกคามดิจิทัล
หมายถึงการตระหนักถึงอันตรายของการอยู่บนโลกออนไลน์และการใช้อุปกรณ์ดิจิทัศน์ รวมถึงการมีเครื่องมือที่ช่วยให้คุณเองและองค์กรของคุณปลอดภัย
5. ความคิดเชิงวิพาก
หมายถึงการคิดโดยยึดข้อเท็จจริง แปลว่าวิเคราะห์ประเด็นหรือสถานการณ์ต่างๆ จากหลักฐาน แทนที่จะเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล ความเอนเอียง เพื่อให้เราได้สร้างความเข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว เราก็จะตัดสินใจและแก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น
6. การประเมินและการตัดสินใจที่ซับซ้อน
การประเมินคือรากฐานของการตัดสินใจ ในขณะที่คุณกำลังตัดสินใจ คุณก็กำลังประเมินผลลัพธ์หรือการกระทำว่าทางเลือกไหนดีกว่า
7. ความฉลาดทางอารมณ์และการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น
หมายถึง ความสามารถในการรับรู้แสดงออก และควบคุมอารมณ์ของเราได้ รวมถึงเข้าใจและตอบสนองต่ออารมณ์ผู้อื่นได้
8. ความคิดสร้างสรรค์
หมายถึง การเปลี่ยนจินตนาการให้กลายเป็นความจริง ซึ่งจะเกิดขึ้นผ่านกระบวนการ 2 ขั้นตอน นั่นคือการคิดและการลงมือทำ การคิดโดยไม่มีการลงมือคือการมีจินตนาการ แต่ไม่ใช่การมีความคิดสร้างสรรค์
9. การทำงานร่วมกันและการทำงานเป็นทีม
การทำงานร่วมกันหมายถึงการทำงานกับผู้อื่นเพื่อตัดสินใจร่วมกันและบรรลุเป้าหมายเดียวกัน
ซึ่งไม่ได้เหมือนกับการทำงานเป็นทีมเสียทีเดียว แม้ทั้งสองอย่างจะเป็นการทำงานด้วยกันก็ตาม ถึงแม้ว่าทีมอาจประสบความสำเร็จได้จากการที่ทุกคนรับผิดชอบหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แต่การทำงานร่วมกันต้องการอะไรมากกว่านั้น นอกจากพวกคนในทีมนั่นคือต้องมีคุณลักษณะต่างๆ เช่น การเคารพนับถือ ความไว้วางใจ การเปิดเผยตรงไปตรงมา การรับฟัง และความฉลาดทางอารมณ์
10. การสื่อสารระหว่างบุคคล
คือการแลกเปลี่ยนข้อมูล อารมณ์ และความหมายระหว่างบุคคลด้วยกัน ในบริบทของที่ทำงานเรามักจะพบการสื่อสารระหว่างบุคคลอยู่เป็นประจำ ทั้งในการประชุม การนำเสนองาน ในอีเมล การคุยสัพเพเหระตรงตู้กดน้ำ เรียกได้ว่าเกิดขึ้นในทุกโอกาส
11. การทำงานแบบชั่วคราว
อนาคตเราจะทำงานแบบ “ไม่มีสังกัด” แทนที่จะเป็นลูกจ้างเหมือนเดิม และต่อให้คุณอยู่ในระบบการจ้างงานแบบดั้งเดิม เราทุกคนก็สามารถเรียนรู้ที่จะมีความยืดหยุ่นและความรับผิดชอบต่อการพัฒนาทางอาชีพการงานเช่นเดียวกับคนทำงานอิสระ
12. ความสามารถในการปรับตัวและความยืดหยุ่น
เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เร็วขึ้นเรื่อยๆซึ่งเกิดจากการขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีและระบบการทำงานอัตโนมัติเป็นหลักหลายงานจะเปลี่ยนโฉมไปงานใหม่ๆจะเกิดขึ้นและอีกหลายๆงานจะหายไปโดยสิ้นเชิงคนกว่า 375 ล้านคนอาจจะต้องเปลี่ยนอาชีพและเรียนรู้ทักษะใหม่ในปี 2030
13. ความฉลาดทางวัฒนธรรมและการมีสำนึกถึงความหลากหลาย
เราทุกคนควรมีอิสระในการแสดงความเป็นตัวตนที่แท้จริงในที่ทำงาน หรืออาจเรียกว่านำ “ความเป็นตัวตนในทุกแง่มุม” ไปทำงานโดยไม่ต้องกลัวการเลือกปฏิบัติ
14. การตระหนักด้านจริยธรรม
จริยธรรมคือหลักศีลธรรมชุดหนึ่งที่แนะแนวทางในการตัดสินใจและพฤติกรรมของเรา แต่การมีจริยธรรมอาจจะมีความหมายแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล อาจไม่มีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเสมอไป ดังนั้น จริยธรรมจึงเป็นเหมือนกรอบความคิดที่ช่วยให้เราตัดสินใจได้ด้วยตนเองว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด
15. ทักษะความเป็นผู้นำ
ความหมายง่ายๆของความเป็นผู้นำคือคนที่ช่วยให้ผู้อื่นเติบโต ทักษะความเป็นผู้นำไม่ได้มีความสำคัญสำหรับผู้ที่อยู่ในบทบาทผู้นำแบบดั้งเดิมเพียงเท่านั้น แต่บุคคลทั่วทั้งองค์กรต้องก้าวขึ้นมารับบทบาทการเป็นผู้นำมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าโครงการหรือหัวหน้าแผนก
16. แบรนด์ของ “คุณ” และเครือข่าย
แบรนด์บุคคลของคุณคือจุดสูงสุดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทักษะ ประสบการณ์ บุคลิกภาพที่ทำให้คุณเป็นคุณหลักๆ มันคือชื่อเสียงของคุณ
17. การบริหารเวลา
คนปกติทั่วไปจะมีประสิทธิผลได้น้อยกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้น การบริหารเวลาที่ดีจึงไม่ใช่การอัดตารางให้แน่น หรือทำงานนานและหนักกว่าคนอื่น แต่ตรงกันข้ามเลย มันคือการทำงานอย่างชาญฉลาดมากขึ้น เพื่อที่จะได้เครียดน้อยลงมีเวลาสำหรับเรื่องที่ชอบอื่นๆ นอกเหนือจากงานมากขึ้น
18. ความสงสัยใคร่รู้และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
องค์ประกอบ 2 อย่างที่จำเป็นสำหรับความสงสัยใคร่รู้และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องคือ ความถ่อมตัวและกรอบความคิดแบบพัฒนาได้ ซึ่งก็คือความเชื่อที่ว่าทุกคนมีความสามารถที่จะเติบโต เรียนรู้ และปรับปรุงให้ดีขึ้นได้
19. การยอมรับและชื่นชมความเปลี่ยนแปลง
ความเปลี่ยนแปลงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเสมอ มันคือรากฐานที่ต่อยอดไปเป็นความก้าวหน้าและการพัฒนาสำหรับบุคคล องค์กร และเผ่าพันธุ์ของมนุษย์
การเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงร้อยละ 70 มักจะล้มเหลวเราทุกคนจึงควรรับมือกับความเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น
20. การดูแลตัวเอง
ในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วและข้อมูลอันท่วมท้น สิ่งสำคัญอย่างมากคือการดูแลตัวเอง ใส่ใจทั้งสุขภาพกายและจิตใจ รวมถึงหาสมดุลให้ชีวิตมากขึ้น
ความหมายคือ ความสามารถในการแยกชีวิตการทำงานและชีวิตนอกเหนือการทำงานออกจากกันได้ และที่สำคัญคือรู้สึกได้รับการเติมเต็มในทั้งสองด้าน