เดินทางมาถึงเล่มสือเล่มที่ 108 ของปี 2023 ที่อ่านจบ นั้นคือ หนังสือ OUTPUT THINKING แค่รู้ “วิธีคิด” ที่ถูกต้อง แม้แต่ขยะคุณก็เปลี่ยนให้เป็นทองได้ เขียนโดย คาคิอุจิ ทาคาฟุมิ ผู้แปล นพรดา ศิริเสถียร โดยสำนักพิมพ์ วีเลิร์น (WeLearn) และเล่มนี้ต้องขอบคุณหนังสือจาก สำนักพิมพ์วีเลิร์น ที่ส่งมาให้อ่าน
ซื้อหนังสือ
– Lazada: https://s.lazada.co.th/s.keaaa?cc
– Shopee: https://shope.ee/4fTLc16wHW
หนังสือเล่มนี้จะพาคุณไปพบกับ “เทคนิคการคิด” ที่เรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพสูงสุดซึ่งจะช่วยเปลี่ยนทุก INPUT ที่เข้ามา ให้กลายเป็น OUTPUT ที่ทรงพลังและสร้างผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมในทุก ๆ ด้านของชีวิตไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การทำธุรกิจ หรือแม้แต่ความรัก!
คาคิอุจิ ทาคาฟุมิ คือนักปั้นหนังสือ bestseller อันดับหนึ่งของญี่ปุ่นเขาทำให้คนธรรมดากลายเป็นนักเขียนชื่อดังมาแล้วมากมายและมียอดขายหนังสือรวมกันกว่า 10 ล้านเล่ม
สรุปข้อคิดจากหนังสือ OUTPUT THINKING แค่รู้ “วิธีคิด” ที่ถูกต้อง แม้แต่ขยะคุณก็เปลี่ยนให้เป็นทองได้
“การคิด” เป็นสิ่งที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงิน สถานภาพ หรือตำแหน่ง มันเป็นอาวุธระดับสุดยอดที่ไม่ว่าใครก็สามารถครอบครองได้
การคิดหมายถึง การทำให้กว้าง และ การทำให้ลึก การคิด “กว้าง” คือการคิดถึงความเป็นไปได้ การคิด “ลึก” คือการคิดถึงคุณค่าที่เป็นแก่นแท้
การคิด กับ การนึก เป็นสิ่งที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง การนึก คือการมีอะไรผุดขึ้นมาในหัวหรือการรู้สึก การคิด คือการคิดอย่างมีสติสัมปชัญญะที่ทำอย่างมีเป้าหมาย
บางปัญหาก็ใช้การคิดแบบมีเหตุผลแก้ไม่ได้ เพราะการคิดแบบมีเหตุผลอาศัยข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต การจะคิดถึงสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน สิ่งที่จำเป็นต้องงัดมาใช้ก็คือ “การคิดแบบไม่มีเหตุผล”
วิธีคิดที่เริ่มต้นด้วยสิ่งที่ไม่มีเหตุผลอย่างสัญชาตญาณและความรู้สึก เป็นสิ่งจำเป็นต่อยุคสมัยที่คาดเดาอนาคตไม่ออกอย่างทุกวันนี้ยิ่งกว่าการคิดแบบมีเหตุผลเสียอีก
ความมุ่งมั่นเป็นสิ่งที่มีขีดจำกัด หากใช้มากเกินไปมันจะเหือดแห้งเอาได้ ต้องคอยยั้งตัวเองไม่ให้ฝืนพยายามเกินเหตุ ไม่ทำมากเกินไป ไม่รีบร้อน และสร้างระบบที่ช่วยให้สนุกกับมัน
แม้จะเป็นสิ่งเดียวกัน แต่แค่เปลี่ยนมุมมองนิดหน่อยก็สามารถทำให้มันดูดีมีเสน่ห์และสร้างคุณค่าใหม่ขึ้นมาได้
บางครั้งไม่จำเป็นต้องคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ แค่พิจารณาเสน่ห์ของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ให้ถี่ถ้วน และปรับเปลี่ยนนิดหน่อยก็ค้นพบคุณค่าใหม่ๆ ได้
ชีวิตเป็นสิ่งที่มีองค์ประกอบเรียบง่ายจนน่ากลัว ชีวิตประกอบด้วย ความคิด + การกระทำ ไม่ว่าจะคิดหรือทำอะไร ผลลัพธ์ที่ตามมาจะสร้างชีวิตและอนาคตของเรา
สิ่งที่ความคิดและการกระทำสร้างขึ้นไม่ได้มีแค่อนาคต แต่ยังมีนิสัยด้วย
อย่าให้ความผิดพลาดจบลงแค่การมานั่งเสียใจภายหลัง แต่ต้อง “ทบทวน” ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไรด้วย
ทุกวันนี้ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว วิธีที่เคยใช้ได้ผลจู่ๆ ก็กลายเป็นไม่ได้ผล การตระหนักถึงความผิดพลาดของตัวเองให้ทันท่วงที จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง
ไอเดียเป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้น ไม่ได้ผุดขึ้นมาเอง
มนุษย์ทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงต่อวันเท่ากัน แต่คุณภาพของการใช้เวลาของแต่ละคนแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้คุณภาพของการใช้เวลาแตกต่างกันก็คือ “ความกังวล” ความกังวลจะช่วงชิงเวลาชีวิตของคุณไป
การคิด ไม่ได้ทำด้วยการฝืนคิดแบบเอาเป็นเอาตาย แต่ให้เริ่มจากการจัดระเบียบสถานการณ์ปัจจุบันก่อน ตั้งโจทย์ input ข้อมูลที่จำเป็น และจัดระเบียบข้อมูลที่ input เข้ามา
มนุษย์จดจ่อกับอะไรเป็นพิเศษแล้วสมองจะเริ่ม “รับข้อมูล” เกี่ยวกับสิ่งนั้นโดยอัตโนมัติ แค่ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนการหาข้อมูลก็จะง่ายขึ้นกว่าเดิมเยอะ
เคล็ดลับของ “เทคนิคทวีคูณ” คือการนำคำที่ไม่เคยเจอมาก่อนมาอยู่ด้วยกัน เช่น พัดลมมือถือ หุ่นยนต์ทำความสะอาด
ไอเดียใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราออกนอกสมองไปเจอสิ่งที่ไม่เคยนึกฝันมาก่อน
“เทคนิคเชื่อมโยง” จะนำสิ่งที่เคยเจอกันแล้วหรือสิ่งที่นึกภาพออกมาเชื่อมโยงต่อไปเรื่อยๆ เป็นวิธีเหมาะกับเวลาต้องการค้นหาคุณค่าและเสน่ห์ใหม่ๆ ของสิ่งที่มีอยู่แล้ว
“เทคนิคบิด” ใช้เวลาที่อยากปัดฝุ่นของเก่าที่มีอยู่แล้วให้เกิดคุณค่าใหม่ เหมาะสำหรับตอนเจอปัญหาสินค้าหรือบริการที่ขายไม่ออก
นวัตกรรมไม่ใช่แค่สิ่งสร้างใหม่ แต่มันยังสามารถสร้างได้ด้วยการ “นิยามคุณค่าใหม่” ด้วยเช่นกัน
มนุษย์มีแนวโน้มจะเลือกสิ่งที่รู้สึกว่าทำได้หรือทำง่ายเอาไว้ก่อน แต่ถ้าปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ นอกจากจะไม่มีวันได้ไอเดียใหม่ๆ แล้วตัวเองยังไม่มีทางเติบโตด้วย
นวัตกรรมส่วนใหญ่เกิดจากความคิดที่ว่า “ถ้ามีก็ดีสิ” ไม่ว่าจะเป็น iPhone หรือ facebook ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ล้วนมีที่มาจากความคิดที่ว่า “ถ้ามีก็ดีสิ”
เวลาคิดอะไรสักอย่างมนุษย์มักเริ่มคิดจากสิ่งที่ทำได้หรือมีโอกาสเป็นไปได้ ด้วย “เทคนิคถ้ามีก็ดีสิ” เราต้องทำโดยทิ้งเรื่องข้อเท็จจริงหรือความเป็นไปได้ แล้วสวมวิญญาณโนบิตะที่ร้องขอของวิเศษจากโดราเอมอนด้วยความคิดที่ว่า “ถ้ามีก็ดีสิดู”
“เทคนิคเปลี่ยนเป็นคุณค่าเชิงบวก” เอาของที่ปกติแล้วมีภาพลักษณ์เชิงลบ ดูไม่ดี หรือถูกมองว่าใช้ไม่ได้ นำมาสร้างคุณค่าใหม่
“เทคนิคตัวเอง/คุณ/สังคม” คือ 3 ปัจจัยที่ช่วยสร้างความหมายให้กับข้อมูลหรือสิ่งที่เราต้องการสื่อ มันกระตุ้นให้คนอื่นคล้อยตามและสนับสนุน ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์มันจะทำให้คนอยากซื้อ ถ้าเป็นความสัมพันธ์มันจะช่วยลดระยะห่างระหว่างคุณกับคนอื่นให้เข้าใกล้กันมากขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
มนุษย์ไม่ได้ทำตามหลักเหตุผลเสมอไป เอาเข้าจริงๆแล้วทำตามอารมณ์ความรู้สึกและสัญชาตญาณในสัดส่วนที่สูงกว่าเยอะ การจะทำให้สิ่งที่มองด้วยตาไม่เห็นเหล่านี้จับต้องได้มากขึ้นต้องใช้ “เทคนิคหาใจจริง ”
ต่อให้คิดไอเดียสุดวิเศษได้ แต่ถ้าสื่อสารไม่ดีก็ไม่มีทางถึงเป้าหมาย
การสร้างความแตกต่างไม่ได้จำเป็นถึงขั้นคอขาดบาดตาย บางกรณีต้องสร้างความแตกต่าง แต่บางกรณีก็ไม่ต้อง