หนังสือเล่มที่ 118 ของปี 2023 ที่อ่านจบ เป็นหนังสือจากสำนักพิมพ์บิงโกเช่นเดียวกับ วิถีผู้ชนะฉบับคนเก่งแบบเป็ด ต้องขอบคุณทางสำนักพิมพ์ที่ส่งมาให้อ่าน เล่มนี้ชื่อว่า “PRODUCTIVITY คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น” ผู้เขียน Kan Sumita (คัน ซุมิตะ) ผู้แปล ทินภาส พาหะนิชย์ หนังสือที่บอกกับเราว่า เรียนรู้วิธีคิด ทำงาน และใช้ชีวิตของทั้ง 2 ชาติในเล่มเดียว จากอัจฉริยะผู้คร่ำหวอดในแวดวงธุรกิจเยอรมันกว่า 20 ปี
ซื้อหนังสือ
– Lazada: https://s.lazada.co.th/s.kmBGc?cc
– Shopee: https://shope.ee/9zVCQcbfKD
เกริ่นนำ
“ซุมิตะ คัง” เป็นคนญี่ปุ่นคนแรกที่ทำงานในบริษัทการเงินเก่าแก่ 300 ปีของเยอรมนี เขาได้สัมผัสวิธีคิดแบบเยอรมัน และนำมาเทียบกับข้อดีของญี่ปุ่น เขาผสานสไตล์ทั้ง 2 เข้าด้วยกัน เกิดเป็นแนวทางที่มหัศจรรย์ในหนังสือ “Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น” เล่มนี้ ที่จะพาคุณไปพบกับศิลปะการเพิ่ม Productivity ที่รวมทั้งเยอรมันและญี่ปุ่น ตั้งแต่วิธีคิด การสื่อสาร การบริหารเวลา การทำงานเป็นทีม ไปจนถึงการใช้ชีวิต ซึ่งจะช่วยคุณสร้างผลงาน และมีความสุขในชีวิตมากขึ้น
ญี่ปุ่นเป็นชาติที่ขยัน จริงจัง และทำงานได้ดีเยี่ยมจนทั่วโลกยอมรับ แต่น้อยคนจะรู้ว่ามีชาติหนึ่งที่คนญี่ปุ่นยกย่องให้เป็น “แบบอย่าง” ของตน ชาตินั้นคือ “เยอรมัน” ซึ่งมีวิธีคิดและทำงานที่น่าทึ่ง “แต่จะดีแค่ไหน ถ้าเราได้เรียนรู้วิธีคิดทั้งเยอรมันและญี่ปุ่นในคราวเดียว?”
สรุปข้อคิดจากหนังสือ “PRODUCTIVITY คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น”
คนเยอรมันเรียกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ว่า วันทำงาน วันสุดสัปดาห์จึงเป็นวันพักผ่อน เมื่อเป็นวันพักผ่อนก็ไม่ต้องทำงาน ร้านค้าก็ไม่เปิด ส่วนคนญี่ปุ่นเรียกวันจันทร์ถึงวันสุดว่า วันธรรมดา หรือเรียกอีกอย่างว่า วันปกติ วันหยุดจึงมีภาพลักษณ์ว่าเป็นวันพิเศษ
ถ้าคุณไปบอกผู้บริหารชาวญี่ปุ่นว่า “ตัวเองทำงานหนัก” คุณจะโดนสวนกลับมาว่า “ให้ลาออกไปไม่ต้องทนทำงานก็ได้บริษัทนี้ต้องการคนที่ขยันทำงาน” แต่ถ้าคนเยอรมันรู้สึกว่าตัวเองทำงานหนัก พวกเขามักหางานใหม่ทันทีไม่ฝืนทำงานที่เดิม
คนเยอรมันจะไม่ทำงานมากเกินไป โดยพื้นฐานแล้วพวกเขาเป็นคนที่ขยันและจะทำสิ่งที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ แต่จะไม่ฝืนกำลังไปมากกว่านั้น
คนเยอรมันจะให้ความสำคัญกับงานที่ถูกกำหนดมาแล้วก่อน ส่วนงานที่สำคัญรองลงมาจะเลื่อนไปทำวันรุ่งขึ้น ถ้าทำไม่ได้จริงๆ ค่อยทำล่วงเวลา แต่ส่วนใหญ่พวกเขาจะไม่เลือกวิธีนั้น
คนเยอรมนีมีแนวคิดฝังลึกว่า “คนอื่นก็คือคนอื่นฉันก็คือฉัน” พวกเขาจึงรู้สึกภาคภูมิใจกับชีวิตตัวเองแม้ทำงานส่งกาแฟ แต่ก็หยิ่งในศักดิ์ศรี
คนเยอรมันยอมรับรูปแบบการทำงานอันหลากหลายได้ พวกเขาคิดว่า “คนอื่นก็คือคนอื่นฉันก็คือฉัน” ซึ่งสื่อถึงการใช้ชีวิตในแบบของตัวเอง
คนเยอรมันให้ความสำคัญกับการใช้เวลาร่วมกับครอบครัว หรือหุ้นส่วนชีวิตมากที่สุด ชีวิตต้องมาก่อนงาน
หัวหน้าควรปล่อยให้ลูกทีมคิดเอง และไม่ต้องให้ลูกทีมรายงานทุกสิ่งอย่าง สภาพแวดล้อมที่ให้ความสำคัญกับอิสระจึงเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการเพิ่ม productivity
การเดาความรู้สึกของอีกฝ่ายและการนึกถึงใจคนอื่นมากเกินไป จะทำให้เราทำงานผิดวัตถุประสงค์อยู่บ่อยๆ
คนเยอรมันมี productivity สูง เพราะระบบการศึกษาและระบบการเข้าทำงาน ถ้านักศึกษารู้ว่าตัวเองเหมาะกับงานหรือบริษัทใดตั้งแต่เนิ่นๆ มันจะช่วยลดโอกาสเลือกงานที่ตัวเองไม่ชอบ หรือไม่มีกะจิตกะใจทำงานได้
คนญี่ปุ่นสอนเด็กว่า “กินอาหารให้หมด อย่าเลือกกิน” แต่คนเยอรมันสอนว่า “ถ้าไม่อยากกินก็ไม่ต้องกิน”
พ่อแม่เยอรมันจะดูเข้มงวดแต่สายสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับไม่ห่างเหิน พ่อแม่มีเวลาคุยกับลูกทุกวันลูกก็เลยรู้สึกอบอุ่น ยิ่งไปกว่านั้นสังคมเยอรมันยังใจกว้างกับเด็กๆ ด้วย
เข้มงวดในเรื่องที่ควรเข้มงวดแต่รู้จักยืดหยุ่นนี่คือเอกลักษณ์ประจำชาติของเยอรมนี
คนเยอรมันชอบสร้างระบบและนำไปใช้งานอย่างเต็มที่ พวกเขายอมทุ่มเทเงินทองกับเวลาเพื่อสร้างระบบโดยไม่เสียดาย พวกเขามี productivity สูงเพราะเรื่องนี้ด้วย
การสื่อสารควรเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ การทักทายกันอยู่เรื่อยๆ ช่วยให้สนิทสนมกันมากขึ้น พอต้องสื่อสารกันเรื่องงานก็จะง่ายขึ้นและช่วยเพิ่ม productivity ด้วย
คำพูดว่า “ขอด่วนที่สุดเลยนะ” นี่คือตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่ไปลด productivity
ถ้าเราอธิบายด้วยคำพูดที่ชัดเจนและลงรายละเอียด ให้อีกฝ่ายเข้าใจวิธีนี้ช่วยเพิ่ม productivity ได้
การสนทนากันบ่อยๆ ยังก่อให้เกิดความไว้วางใจ และนำไปสู่การเพิ่ม productivity
ถ้าเราอยากเพิ่ม productivity วิธีที่ได้ผลที่สุดคือ “ถามทันทีเมื่อไม่เข้าใจ”
หยุดเขียนอีเมลที่ถามไปเรื่อยไม่จบสิ้น บางเรื่องแค่โทรศัพท์ไปครั้งเดียวเรื่องก็ไปต่อได้อย่างราบรื่น นี่เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ช่วยเพิ่ม productivity ในการทำงาน
คนเยอรมันจะไม่ทำงานที่ไร้ประโยชน์ พวกเขาไม่ได้เกียจคร้าน แต่เป็นคนเอาจริงเอาจังและขยัน
ถ้ารู้ว่าวันนั้นมีหน้าที่สำคัญต้องทำ คนเยอรมันจะบริหารเวลาไม่ให้ยุ่ง และไม่ใช้เวลาไปกับเรื่องส่วนตัว
คนเยอรมันจะมุ่งมั่นทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และชอบใช้เวลาพักระหว่างทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
จงใช้เวลาอย่างประหยัดและทบทวนการทำงานเพื่อให้งานเสร็จเร็วขึ้น ถ้ามัวแต่คิดว่ามีเวลาเหลือเฟือ productivity จะลดลงอย่างแน่นอน
คนญี่ปุ่นยอมสละเวลาส่วนตัวเพื่อหาความรู้เพิ่ม เพราะอยากเพิ่ม productivity ในการทำงาน แต่คนเยอรมันรู้จักแบ่งเวลา เมื่อถึงเวลาทำงานก็ทำเต็มที่ เมื่อถึงเวลาพักก็พักให้เต็มที่ วิธีนี้ช่วยเพิ่ม productivity ได้จริงๆ
คนเยอรมันมอบหมายงานกันชัดเจน ให้ความสำคัญกับงานที่ได้รับมอบหมายมาเป็นอันดับแรก ต่อให้มีงานด่วนที่ต้องส่งพรุ่งนี้ พวกเขาก็จะคิดว่า “รู้ตั้งนานแล้วว่าต้องรีบใช้แล้ว ทำไมเพิ่งมาบอกตอนนี้ นี่ไม่ใช่ปัญหาของฉัน แต่เป็นปัญหาของคนที่บริหารเวลาไม่ดี”
เทคนิคไม่ยอมทำงานแทรกคือหนึ่งในเทคนิคที่ช่วยเพิ่ม productivity ง่ายที่สุด
ก่อนเพิ่ม productivity ในการทำงาน คุณต้องทบทวนสภาพของทีมและการบริหารทีม ซึ่งสิ่งสำคัญที่คุณต้องพิจารณาก็คือ โครงสร้างบริษัท
ในบางกรณีถ้าเราอยากเพิ่ม productivity เราจะต้องกำหนดผู้รับผิดชอบงานให้ชัดเจน ถ้ากำหนดหน้าที่รับผิดชอบให้ชัดเจนเหมือนคนเยอรมัน งานอาจติดขัดบ้าง แต่วิธีนี้จะไม่เพิ่มงานให้ใคร productivity ของพนักงานก็จะเพิ่มขึ้น
เราสามารถควบคุมความเสี่ยงได้ ถ้าเราควบคุมความเสี่ยงไม่ได้ นั่นแหละคือปัญหา ดังนั้นเราควรสร้างบรรยากาศในที่ทำงานให้เปิดรับฟังข่าวร้ายให้มากที่สุด
การจัดระเบียบอยู่เสมอ คุณจะไม่เสียเวลาหาของวิธีนี้จึงช่วยเพิ่ม productivity ได้ด้วย
ช่องทางซื้อหนังสือ
ซื้อหนังสือ
– Lazada: https://s.lazada.co.th/s.kmBGc?cc
– Shopee: https://shope.ee/9zVCQcbfKD