จะไม่เล่นโซเชียล 2 เดือน! โซเชียลดีท็อกซ์ (Social Detox) [บันทึกแพนิค ep.4]

โซเชียลดีท็อกซ์ - pexels pixabay 267350 - ภาพที่ 1

สาเหตุมาจากการที่เราพบว่าตัวเองเป็นแพนิค ในช่วงแรกๆ เราก็เล่นโซเชียลปกติ แต่พบว่ามีหลายอย่างในโซเชียลกระตุ้นอาการแพนิคของเรา จนช่วงท้ายๆก่อนตัดสินใจเลิกเล่น นั่งอ่านแชทอยู่ เราพบว่าเราเกิดอาการแพนิคอีกแล้ว ใช้เวลา 20 นาทีหลังแพนิคจบลง ตัดสินใจ ณ เวลานั้น ทักบอกเพื่อนๆ ที่สนิท เฉพาะคนที่คุยกันทุกวัน ว่า เห้ย เราต้องออกจากโซเชียลนะ เรามีอาการแพนิคนิดหน่อย ตอนนั้นเพื่อนๆ ก็คงตกใจนะ เพราะเราไม่เคยบอกเพื่อนมาก่อนว่า เราเป็นแพนิค

หลังจากบอกเพื่อนๆ ไป ก็ตัดสินใจลบแอปทุกแอปเลยทั้ง Facebook, IG, Twitter, TikTok และลบทุกเครื่องที่มี เหลือ LINE ไว้คุยงาน แต่หลังจากลบ ก็พบว่ามีบางคนที่ลืมบอก ก็มีการโทรไปบอก และแชท LINE บอก หลายคนก็ให้กำลังใจ ก็ขอบคุณมากๆ มันมีค่าสำหรับคนมาก

Social Detox คืออะไร ?

Social Detox หรือ โซเชียลดีท็อกซ์ คือการที่เรามีอาการติด หรือเสพติดการเล่นสมาร์ทโฟน และ Social Media อย่าง Facebook, IG, Twitter, TikTok มากๆ บางคนอาจจะไม่ขึ้นขั้นที่ต้องนั่งไถ Feed ตลอดเวลา แต่หากว่างก็หยิบมาเล่นทันที เรียกได้ว่า ชีวิตส่วนมากอยู่กับ Facebook, IG, Twitter, TikTok แทบจะตลอด ชีวิตออนไลน์ จริงๆ ในแอปพวกนี้มีเวลาบอกว่า ใน 1 วัน เราใช้เวลาเล่นมันไปกี่ชั่วโมง

Social Detox จึงเป็นการถอยห่างจากโซเชียล และพบปะผู้คนในชีวิตจริงๆ ให้มากกว่าเดิม มันช่วยให้เราห่างจากเรื่อง Toxic ได้มาก ไม่ต้องรับรู้เรื่องราวของคนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตเรา

เราจะไม่เล่นโซเชียล 2 เดือน!

ณ ตอนที่กำลังเขียนบทความนี้ เราไม่เล่นโซเชียลมาแล้วราวๆ 20 วัน พบว่าอาการแพนิคของเราลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในตอนแรกเราก็กังวลว่าจะอยากเปิดมาเล่นไหมนะ แต่บอกด้วยความจริงว่า ไม่มีความยากเปิดเลย มือถือก็แทบไม่ได้จับ จนลืมมือถือไปเลย ส่วนนึงเพราะมันมีกำแพงอยู่ว่า หากเราเล่น เราจะแพนิคนะ มันเลยเหมือนมีกำแพงกั่นเราไว้ว่า อย่าเปิดเด็ดขาดถ้าไม่อยากแพนิค

ถ้าอยากทำ Social Detox บ้าง ?

วิธีที่เราแนะนำคือ

  1. ค่อยๆ ลดเวลาในการเล่นลง จากเดิมเล่นหลายชั่วโมง ลดเวลาให้เหลือน้อยที่สุด
  2. กำหนดช่วงเวลาในการเล่น เช่นเล่นแค่ 06:00 – 07:00 และ 18:00 – 19:00 เราว่าเวลาแค่นี้เพียงพอสำหรับการติดตามข่าวสารที่จำเป็น