[รีวิว] #หนังสือน่าอ่าน วิธีเอาชนะโรควิตกกังวลและอาการแพนิกเฉียบพลัน หนังสือที่คนเป็นแพนิค วิตกกังวลควรอ่าน [เล่มที่ 19 ของปี 2023]

หนังสือ วิธีเอาชนะโรควิตกกังวลและอาการแพนิกเฉียบพลัน เป็นหนังสือที่แปลมาจากต้นฉบับภาษาเยอรมัน ที่ถูกเขียนขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญในด้านการรักษาโรควิตกกังวล โดย เคลาส์ เบิร์นฮาร์ดท์ ผู้เขียนได้รวบรวมประสบการณ์ส่วนตัวที่ผ่านการช่วยเหลือคนที่มีอาการแพนิคเฉียบพลัน ที่มารักษาที่คลินิกจิตบำบัดของตัวเอง และถือเป็นนักบำบัดคนแรกของประเทศเยอรมนีที่ใช้แนวทางใหม่ของการบำบัด ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากงานวิจัยสมองสมัยใหม่แตกต่างไปจากการรักษาแบบเดิมที่ใช้กันเป็นมาตรฐาน

ยารักษาอาการซึมเศร้าและยาคลายเครียด มันคือ “คำสาป” มากกว่าการให้พร

ผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าและเป็นโรควิตกกังวล มักจะได้รับยารักษาอาการซึมเศร้าและยาคลายเครียด แพทย์และนักบำบัดหลายคนเชื่อว่า ยาจะสามารถช่วยเหลือคนไข้ที่มีอาการได้เร็วที่สุด ก็ต่อเมื่อใช้ยาเหล่านี้ช่วยสนับสนุนให้เกิดความสมดุลทางจิตอีกครั้ง จึงไม่น่าประหลาดใจที่อย่ารักษาอาการซึมเศร้านับเป็นหนึ่งในยาที่สั่งให้แก่ผู้ป่วยมากที่สุดในโลก

แต่ในความเป็นจริงแล้วยาต้านเศร้าและยาคลายเครียดที่มักถูกให้คนไข้ ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสมองในเชิงโครงสร้างได้อย่างดีเยี่ยม ยาเหล่านี้ทำได้มากที่สุดคือช่วยบรรเทาความรู้สึกหวาดกลัววิตกกังวลได้บ้างเท่านั้น

กลับมาดื่มกาแฟอีกครั้ง หลังจากหยุดดื่มเพราะอาการแพนิคไป 2 เดือน

เราเองก็เป็นคนนึงที่เรียกว่าติดการดื่มกาแฟมาก ๆ ปกติเราจะดื่มกาแฟวันละ 2 ครั้ง เวลา 10:00 น. และ 14:00 น. เราจะดื่มเวลาเดิมตลอด และวันหยุดเราก็จะไปนั่งร้านกาแฟ นั่งอ่านหนังสือ (แทบทุกวันหยุด) เรียกได้ว่าการดื่มกาแฟคือหนึ่งในความสุขของเรา แต่ช่วงที่เราต้องไปฝังเข็มรักษาไมเกรน เราต้องงดดื่มกาแฟ แอลกอฮอล์ และน้ำเย็นทุกอย่าง ส่งผลให้เราต้องงดดื่มกาแฟไป

เราพบว่าอยู่ ๆ เราก็มี “ความสุข” ขึ้นมาจากการที่ได้อ่านหนังสือ

หลังจากที่เรามีอาการแพนิค เราก็เริ่มอ่านหนังสือมากขึ้น จากเดิมที่นาน ๆ ที่จะอ่าน เปลี่ยนเป็นการอ่านหนังสือทุกวัน เราพบว่าการอ่านหนังสือทุกวันนั้นทำให้เรามีความสุขมากขึ้น เราพึ่งมารู้ว่าการอ่านหนังสือนั้นนอกจากให้มีความรู้ที่เพิ่มขึ้นแล้ว แต่ยังช่วยให้มีความสุขทางด้านจิตใจได้อีกด้วย เราจะพบว่าการอ่านหนังสือที่ท่านออกเสียงดังในใจของเรา จะช่วยให้เราได้พักผ่อนจิตใจได้อย่างดี หลีกหนีความวุ่นวายและเรื่องราว ๆ เครียดๆ ที่คิดวนในหัว

บอกลาปี 2022 ด้วยการอ่านหนังสือ “ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์” ให้จบ

สวัสดีวันที่ 31 ธันวาคม 2022 วันสุดท้ายของปี 2022 แล้ว เตรียมบอกลาปี 2022 คงไม่ได้เขียนสรุปเรื่องราวที่เกิดในปีนี้ เขียนไม่ไหว เรื่องราวเยอะไปหมด จำไว้ในหัวแทนละกัน อันไหนจำได้ ก็จำ อันไหนจำไม่ได้ก็ปล่อยให้มันลืมไปตามกลไกลของสมองไป

แชร์ 6 วิธีรักษาโรคแพนิคด้วยตัวเอง (ร่วมกับการทานยาและพบนักจิตบำบัด)

วิธีรักษาโรคแพนิคด้วยตัวเอง ที่เราจะมาแชร์จะเป็นวิธีที่เราได้ทดลองทำมาแล้ว ทั้งที่มีนักจิตบำบัดพาทำ มีคนที่เคยเป็นแนะนำมา หรืออ่านมาจากแหล่งอื่น ๆ ในที่นี้เราขอพูดการทำจิตบำบัด เพราะเราผ่านการทำจิตบำบัดมาหลายรอบ พอมีประสบการณ์มาบอกเล่าต่อ เผื่อใครไม่อยากเสียเงิน

คิดลบตลอดเวลา ! แชร์ 6 วีธีปรับทัศนคติคนคิดลบ ให้มองโลกด้วยความเป็นจริง และมองโลกบวก

เจตจำนงของเราเขียนเพื่อให้คนที่คิดลบ คนที่คิดลบตลอดเวลา แต่ไม่ถึงกับซึมเศร้าได้อ่าน เพราะเราเข้าใจดีว่าอาการซึมเศร้านั้นเป็นความผิดปกติของสมอง บทความนี้อาจจะไม่เหมาะ

15 วิธีอยู่กับอาการแพนิค! การอยู่รวมและจัดการกับแพนิคกำเริบ (Panic Attack) ในแบบของเรา

แพนิคกำเริบ (Panic Attack) ที่เกิดขึ้นกับเรา มีหลายอาการ ซึ่งแต่ละครั้งอาการก็แตกต่างกันไป ตามความเข้าใจเราคือ Panic Attack ไม่เหมือนกับการแพนิคเฉยๆ เพราะการ Panic Attack คือจะมีอาการร่วม แต่การแพนิค คือการวิตกกังวลจากความคิดและเคมีในสมอง

จะไม่เล่นโซเชียล 2 เดือน! โซเชียลดีท็อกซ์ (Social Detox) [บันทึกแพนิค ep.4]

สาเหตุมาจากการที่เราพบว่าตัวเองเป็นแพนิค ในช่วงแรกๆ เราก็เล่นโซเชียลปกติ แต่พบว่ามีหลายอย่างในโซเชียลกระตุ้นอาการแพนิคของเรา จนช่วงท้ายๆก่อนตัดสินใจเลิกเล่น

13 อาการแพนิค จากคนที่เป็นแพนิค (บันทึกแพนิค ep.3)

ในบทความนี้เรารวบรวม 13 อาการแพนิค มาให้คนได้รู้จักว่ามันมีอะไรบ้าง แม้ว่ามันดูไม่อันตราย แต่เราว่ามันค่อนข้างสร้างปัญหาให้ชีวิตมากๆ

เรามีอาการแพนิค แต่มันทำให้เราได้พบมิตรแท้ (บันทึกแพนิค ep.2)

เราเป็นคนมีเพื่อนแท้ มิตรแท้ไม่เยอะ การที่เราเป็นแพนิคทำให้เราต้องหันไปพึ่งใครสักคน ที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวได้ เล่าทุกอย่างที่เกิดขึ้น (อาจจะไม่ทุกเรื่อง แต่มันก็เกือบหมด เราก็เล่าได้ไม่หมดหรอก มันเยอะ บวกจำไม่ได้ด้วย เล่าข้ามบ้าง)

ไม่คิดว่าตัวเองจะเป็น โรคแพนิค !? ใช่จริงๆ หรอ ทำตัวยังไงต่อว่ะ (บันทึกแพนิค ep.1) แพนิคคืออะไร ?

ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการแพนิค หรือโรคแพนิค ที่เราควรปรับปรุงคือ เรื่องความอันตราย จะบอกว่ามันไม่อันตราย มันก็ไม่ใช่ จะบอกว่ามันอันตรายจนถึงชีวิต ก็ไม่ขนาดนั้น (บางคนเป็น 10 ปี ไม่ตาย แต่ก็ไม่หาย) แต่มันคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราอาจจะไปถึงจุดนั้นได้ หากไม่รักษา เพราะอาการแพนิคส่งผลต่อการดำเนินชีวิตมากๆ