ช่วงหนึ่งในชีวิตที่กลัวการนอนหลับ

การนอนหลับเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อสุขภาพของเรา ซึ่งเป็นเหตุผลที่สำคัญทำไมหลายคนถึงคิดถึงการนอนหลับอย่างจริงจัง แต่ก็มีผู้คนบางส่วนที่กลัวการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นเพราะภาวะโรคหรือปัจจัยอื่นๆ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งกายและจิตใจของเราได้

ช่วงหนึ่งเคยนอนไม่หลับ แบบหลายวันติดต่อกัน ไม่หลับแม้แต่วินาทีเดียว โดยที่ร่างกายไม่รู้สึกง่วง ตื่นตัวตลอดเวลา และไม่เพลียด้วย คือพยายามนอน แต่มันไม่หลับ เรียกว่า กลัวการนอนหลับ ก็ไม่ผิดหนัก

ช่วงนั้นรู้สึกเหมือนการนอนหลับคือการทำการบ้านอย่างหนึ่งของชีวิต แทบจะไม่มีเคล็ดลับการนอนหลับอันไหนที่ไม่เคยลองทำ ยิ่งกังวล ยิ่งนอนไม่หลับ แต่มันก็ไม่ได้ผล

[รีวิว] #หนังสือน่าอ่าน วิธีเอาชนะโรควิตกกังวลและอาการแพนิกเฉียบพลัน หนังสือที่คนเป็นแพนิค วิตกกังวลควรอ่าน [เล่มที่ 19 ของปี 2023]

หนังสือ วิธีเอาชนะโรควิตกกังวลและอาการแพนิกเฉียบพลัน เป็นหนังสือที่แปลมาจากต้นฉบับภาษาเยอรมัน ที่ถูกเขียนขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญในด้านการรักษาโรควิตกกังวล โดย เคลาส์ เบิร์นฮาร์ดท์ ผู้เขียนได้รวบรวมประสบการณ์ส่วนตัวที่ผ่านการช่วยเหลือคนที่มีอาการแพนิคเฉียบพลัน ที่มารักษาที่คลินิกจิตบำบัดของตัวเอง และถือเป็นนักบำบัดคนแรกของประเทศเยอรมนีที่ใช้แนวทางใหม่ของการบำบัด ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากงานวิจัยสมองสมัยใหม่แตกต่างไปจากการรักษาแบบเดิมที่ใช้กันเป็นมาตรฐาน

ยารักษาอาการซึมเศร้าและยาคลายเครียด มันคือ “คำสาป” มากกว่าการให้พร

ผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าและเป็นโรควิตกกังวล มักจะได้รับยารักษาอาการซึมเศร้าและยาคลายเครียด แพทย์และนักบำบัดหลายคนเชื่อว่า ยาจะสามารถช่วยเหลือคนไข้ที่มีอาการได้เร็วที่สุด ก็ต่อเมื่อใช้ยาเหล่านี้ช่วยสนับสนุนให้เกิดความสมดุลทางจิตอีกครั้ง จึงไม่น่าประหลาดใจที่อย่ารักษาอาการซึมเศร้านับเป็นหนึ่งในยาที่สั่งให้แก่ผู้ป่วยมากที่สุดในโลก

แต่ในความเป็นจริงแล้วยาต้านเศร้าและยาคลายเครียดที่มักถูกให้คนไข้ ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสมองในเชิงโครงสร้างได้อย่างดีเยี่ยม ยาเหล่านี้ทำได้มากที่สุดคือช่วยบรรเทาความรู้สึกหวาดกลัววิตกกังวลได้บ้างเท่านั้น

[รีวิว] #หนังสือน่าอ่าน จัดการวิตกกังวลวัยรุ่น เหมาะสำหรับคนที่วิตกกังวล หลุดจากความคิดแง่ลบไม่ได้ คิดเรื่องเดิมซ้ำๆ [เล่มที่ 18 ของปี 2023]

หนังสือ “จัดการวิตกกังวลวัยรุ่น : Anxiety Relief For Teens” เป็นหนังสือแนวคู่มือบำบัดความคิดและพฤติกรรม เพื่อให้สามารถเอาชนะความเครียดและความวิตกกังวล โดยออกแบบมาสำหรับวัยรุ่นโดยเฉพาะ เนื้อหาจะอ้างอิงจากปัญหาของวัยรุ่นเป็นหลัก แต่ก็สามารถประยุกต์ใช้สำหรับคนวัยทำงานได้เช่นกัน เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาความวิตกกังวล เช่น กลัวว่าจะไม่เก่งเท่าเพื่อน กังวลเมื่ออยู่กับคนที่ไม่สนิท ไม่สบายใจเมื่อต้องทำอะไรตามลำพัง และเมื่อมีความกังวลมักจะหายใจไม่ออก วิงเวียน ตัวสั่น หนังสือจะแนะนำวิธีบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy – CBT) และการฝึกสติเพื่อตัดวงจรความวิตกกังวลทลายรูปแบบความคิดที่ผิดเพี้ยนพร้อมละเลิกนิสัยเสียต่าง ๆ

แนะนำวิธีคิดและมองตามความเป็นจริง เมื่อมีความคิดวิตกกังวล และมีอาการแพนิค [ครบ 5 เดือนของการแพนิค]

โรคแพนิคหรือโรควิตกกังวลมันได้เปลี่ยนมุมมองที่เรามีต่อโลก เราอาจจะมองสิ่งของที่เคยเห็นเปลี่ยนไป มองเห็นแสงสีที่เคยสดใสเป็นสีอย่างอื่น ราวกลับว่าเราสวมแว่นกันแดดตลอดเวลา จึงทำให้เห็นสีผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง สิ่งที่เรามองเห็นเปรียบได้กับความคิดของเราที่ทำให้เรามองความเป็นจริงผ่านตัวกรอง (กรอบความคิด) บางครั้งก็ถูกอารมณ์ความวิตกกังวลบิดเบือนไป

กลับมาดื่มกาแฟอีกครั้ง หลังจากหยุดดื่มเพราะอาการแพนิคไป 2 เดือน

เราเองก็เป็นคนนึงที่เรียกว่าติดการดื่มกาแฟมาก ๆ ปกติเราจะดื่มกาแฟวันละ 2 ครั้ง เวลา 10:00 น. และ 14:00 น. เราจะดื่มเวลาเดิมตลอด และวันหยุดเราก็จะไปนั่งร้านกาแฟ นั่งอ่านหนังสือ (แทบทุกวันหยุด) เรียกได้ว่าการดื่มกาแฟคือหนึ่งในความสุขของเรา แต่ช่วงที่เราต้องไปฝังเข็มรักษาไมเกรน เราต้องงดดื่มกาแฟ แอลกอฮอล์ และน้ำเย็นทุกอย่าง ส่งผลให้เราต้องงดดื่มกาแฟไป

สวัสดี #ปีใหม่2566 ปีที่ตั้งเป้าว่าจะมีความสุขกับปัจจุบันขณะ

สวัสดีปีใหม่ 2566 ก็นึกว่าตัวเองจะมาไม่ถึงแล้ว รู้สึกตัวเองเก่งจัง ปีที่แล้วค่อนข้างยากลำบากมาก ๆ ทั้งเรื่องสุขภายกาย และสุขภาพใจ ปีที่แล้วมีเรื่องเดียวที่สุดยอดคือ เรื่องรายได้ และน่าจะเป็นเรื่องเดียวที่ส่งผลทำให้หลาย ๆ อย่างในปีไม่แย่ไปกว่านี้ การมีเงิน มีรายได้ที่มากขึ้น มันเป็นเป้าหมายในชีวิตของหลาย ๆ คนอยู่แล้ว รวมถึงเราเองก็ด้วย มันคือส่วนนึงที่ทำให้ชีวิตเดินไปข้างหน้าได้อย่างไม่กังวล

บอกลาปี 2022 ด้วยการอ่านหนังสือ “ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์” ให้จบ

สวัสดีวันที่ 31 ธันวาคม 2022 วันสุดท้ายของปี 2022 แล้ว เตรียมบอกลาปี 2022 คงไม่ได้เขียนสรุปเรื่องราวที่เกิดในปีนี้ เขียนไม่ไหว เรื่องราวเยอะไปหมด จำไว้ในหัวแทนละกัน อันไหนจำได้ ก็จำ อันไหนจำไม่ได้ก็ปล่อยให้มันลืมไปตามกลไกลของสมองไป

แชร์ 6 วิธีรักษาโรคแพนิคด้วยตัวเอง (ร่วมกับการทานยาและพบนักจิตบำบัด)

วิธีรักษาโรคแพนิคด้วยตัวเอง ที่เราจะมาแชร์จะเป็นวิธีที่เราได้ทดลองทำมาแล้ว ทั้งที่มีนักจิตบำบัดพาทำ มีคนที่เคยเป็นแนะนำมา หรืออ่านมาจากแหล่งอื่น ๆ ในที่นี้เราขอพูดการทำจิตบำบัด เพราะเราผ่านการทำจิตบำบัดมาหลายรอบ พอมีประสบการณ์มาบอกเล่าต่อ เผื่อใครไม่อยากเสียเงิน

คิดลบตลอดเวลา ! แชร์ 6 วีธีปรับทัศนคติคนคิดลบ ให้มองโลกด้วยความเป็นจริง และมองโลกบวก

เจตจำนงของเราเขียนเพื่อให้คนที่คิดลบ คนที่คิดลบตลอดเวลา แต่ไม่ถึงกับซึมเศร้าได้อ่าน เพราะเราเข้าใจดีว่าอาการซึมเศร้านั้นเป็นความผิดปกติของสมอง บทความนี้อาจจะไม่เหมาะ

เที่ยวพัทยา Courtyard by Marriott North Pattaya 3 วัน 2 คืน

โรงแรม Courtyard by Marriott North Pattaya บริหารโดย Marriott โรงแรมอยู่ใกล้ที่เที่ยวหลายทีเลย ชนิดที่ว่าเดินไปได้ชิลๆ เช่น ห้าง Terminal 21 พัทยา ร้านอาหาร และแหล่งธุรกิจต่างๆ ระแวกนี้ หรือจะเดินไปริมทะเลก็ได้ ที่โรงแรมมีชัตเติลบัสบริการด้วย (ตามเวลา) จุดเด่นที่เราชอบคือ เงียบสงบ ไม่วุ่นวาย อยูไกลจากแหล่งเสียงรบกวนภายนอก ห้องพักใหม่ สะอาด

15 วิธีอยู่กับอาการแพนิค! การอยู่รวมและจัดการกับแพนิคกำเริบ (Panic Attack) ในแบบของเรา

แพนิคกำเริบ (Panic Attack) ที่เกิดขึ้นกับเรา มีหลายอาการ ซึ่งแต่ละครั้งอาการก็แตกต่างกันไป ตามความเข้าใจเราคือ Panic Attack ไม่เหมือนกับการแพนิคเฉยๆ เพราะการ Panic Attack คือจะมีอาการร่วม แต่การแพนิค คือการวิตกกังวลจากความคิดและเคมีในสมอง

1 2