ยารักษาอาการซึมเศร้าและยาคลายเครียด มันคือ “คำสาป” มากกว่าการให้พร

ผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าและเป็นโรควิตกกังวล มักจะได้รับยารักษาอาการซึมเศร้าและยาคลายเครียด แพทย์และนักบำบัดหลายคนเชื่อว่า ยาจะสามารถช่วยเหลือคนไข้ที่มีอาการได้เร็วที่สุด ก็ต่อเมื่อใช้ยาเหล่านี้ช่วยสนับสนุนให้เกิดความสมดุลทางจิตอีกครั้ง จึงไม่น่าประหลาดใจที่อย่ารักษาอาการซึมเศร้านับเป็นหนึ่งในยาที่สั่งให้แก่ผู้ป่วยมากที่สุดในโลก

แต่ในความเป็นจริงแล้วยาต้านเศร้าและยาคลายเครียดที่มักถูกให้คนไข้ ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสมองในเชิงโครงสร้างได้อย่างดีเยี่ยม ยาเหล่านี้ทำได้มากที่สุดคือช่วยบรรเทาความรู้สึกหวาดกลัววิตกกังวลได้บ้างเท่านั้น

[รีวิว] #หนังสือน่าอ่าน จัดการวิตกกังวลวัยรุ่น เหมาะสำหรับคนที่วิตกกังวล หลุดจากความคิดแง่ลบไม่ได้ คิดเรื่องเดิมซ้ำๆ [เล่มที่ 18 ของปี 2023]

หนังสือ “จัดการวิตกกังวลวัยรุ่น : Anxiety Relief For Teens” เป็นหนังสือแนวคู่มือบำบัดความคิดและพฤติกรรม เพื่อให้สามารถเอาชนะความเครียดและความวิตกกังวล โดยออกแบบมาสำหรับวัยรุ่นโดยเฉพาะ เนื้อหาจะอ้างอิงจากปัญหาของวัยรุ่นเป็นหลัก แต่ก็สามารถประยุกต์ใช้สำหรับคนวัยทำงานได้เช่นกัน เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาความวิตกกังวล เช่น กลัวว่าจะไม่เก่งเท่าเพื่อน กังวลเมื่ออยู่กับคนที่ไม่สนิท ไม่สบายใจเมื่อต้องทำอะไรตามลำพัง และเมื่อมีความกังวลมักจะหายใจไม่ออก วิงเวียน ตัวสั่น หนังสือจะแนะนำวิธีบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy – CBT) และการฝึกสติเพื่อตัดวงจรความวิตกกังวลทลายรูปแบบความคิดที่ผิดเพี้ยนพร้อมละเลิกนิสัยเสียต่าง ๆ

แนะนำวิธีคิดและมองตามความเป็นจริง เมื่อมีความคิดวิตกกังวล และมีอาการแพนิค [ครบ 5 เดือนของการแพนิค]

โรคแพนิคหรือโรควิตกกังวลมันได้เปลี่ยนมุมมองที่เรามีต่อโลก เราอาจจะมองสิ่งของที่เคยเห็นเปลี่ยนไป มองเห็นแสงสีที่เคยสดใสเป็นสีอย่างอื่น ราวกลับว่าเราสวมแว่นกันแดดตลอดเวลา จึงทำให้เห็นสีผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง สิ่งที่เรามองเห็นเปรียบได้กับความคิดของเราที่ทำให้เรามองความเป็นจริงผ่านตัวกรอง (กรอบความคิด) บางครั้งก็ถูกอารมณ์ความวิตกกังวลบิดเบือนไป

กลับมาดื่มกาแฟอีกครั้ง หลังจากหยุดดื่มเพราะอาการแพนิคไป 2 เดือน

เราเองก็เป็นคนนึงที่เรียกว่าติดการดื่มกาแฟมาก ๆ ปกติเราจะดื่มกาแฟวันละ 2 ครั้ง เวลา 10:00 น. และ 14:00 น. เราจะดื่มเวลาเดิมตลอด และวันหยุดเราก็จะไปนั่งร้านกาแฟ นั่งอ่านหนังสือ (แทบทุกวันหยุด) เรียกได้ว่าการดื่มกาแฟคือหนึ่งในความสุขของเรา แต่ช่วงที่เราต้องไปฝังเข็มรักษาไมเกรน เราต้องงดดื่มกาแฟ แอลกอฮอล์ และน้ำเย็นทุกอย่าง ส่งผลให้เราต้องงดดื่มกาแฟไป

สวัสดี #ปีใหม่2566 ปีที่ตั้งเป้าว่าจะมีความสุขกับปัจจุบันขณะ

สวัสดีปีใหม่ 2566 ก็นึกว่าตัวเองจะมาไม่ถึงแล้ว รู้สึกตัวเองเก่งจัง ปีที่แล้วค่อนข้างยากลำบากมาก ๆ ทั้งเรื่องสุขภายกาย และสุขภาพใจ ปีที่แล้วมีเรื่องเดียวที่สุดยอดคือ เรื่องรายได้ และน่าจะเป็นเรื่องเดียวที่ส่งผลทำให้หลาย ๆ อย่างในปีไม่แย่ไปกว่านี้ การมีเงิน มีรายได้ที่มากขึ้น มันเป็นเป้าหมายในชีวิตของหลาย ๆ คนอยู่แล้ว รวมถึงเราเองก็ด้วย มันคือส่วนนึงที่ทำให้ชีวิตเดินไปข้างหน้าได้อย่างไม่กังวล

แชร์ 6 วิธีรักษาโรคแพนิคด้วยตัวเอง (ร่วมกับการทานยาและพบนักจิตบำบัด)

วิธีรักษาโรคแพนิคด้วยตัวเอง ที่เราจะมาแชร์จะเป็นวิธีที่เราได้ทดลองทำมาแล้ว ทั้งที่มีนักจิตบำบัดพาทำ มีคนที่เคยเป็นแนะนำมา หรืออ่านมาจากแหล่งอื่น ๆ ในที่นี้เราขอพูดการทำจิตบำบัด เพราะเราผ่านการทำจิตบำบัดมาหลายรอบ พอมีประสบการณ์มาบอกเล่าต่อ เผื่อใครไม่อยากเสียเงิน

คิดลบตลอดเวลา ! แชร์ 6 วีธีปรับทัศนคติคนคิดลบ ให้มองโลกด้วยความเป็นจริง และมองโลกบวก

เจตจำนงของเราเขียนเพื่อให้คนที่คิดลบ คนที่คิดลบตลอดเวลา แต่ไม่ถึงกับซึมเศร้าได้อ่าน เพราะเราเข้าใจดีว่าอาการซึมเศร้านั้นเป็นความผิดปกติของสมอง บทความนี้อาจจะไม่เหมาะ

15 วิธีการเห็นคุณค่าในตัวเอง สร้าง Self-Esteem ง่ายๆ

เราเองกำลังฝึกฝนการสร้าง Self-Esteem ง่ายๆ ซึ่งก็มาจากการพบนักจิตบำบัด และฝึกฝนตามคำแนะนำของนักจิตบำบัด จิตแพทย์ และผผู้เชียวชาญต่างๆ จนปัจจุบันเราเริ่มมี Self-Esteem สูงพอๆ กับช่วงเวลาก่อนหน้าที่จะเจอสถานการณ์แย่ๆ แล้ว เลยเอามาแชร์ให้ฟังถึงวิธีการว่ามีอะไรบ้าง ที่เราควรฝึก และเพิ่มมัน

3 ข้อแนะนำ + แชร์ประสบการณ์การพบนักจิตบำบัดผ่านแอป ooca

แชร์ประสบการณ์การพบนักจิตบำบัด เขาจะมีคำถามถามเรื่องเรื่อยๆ ตรงๆ ควรจะคิดและตอบตามตรง ไม่มีประโยชน์ที่จะจ่ายเงินไปเพื่อโกหกหมอ เริ่มต้นด้วยการพูดคุย เราเล่าถึงปัญหาของเรา ตรงนี้สำคัญมาก เพราะสิ่งที่เราพูดจะมี keyword ที่หมอจะจับทางเพื่อช่วยให้คำปรึกษาเรา พยายามพูดสิ่งที่คิด ยิ่งที่หนักใจ ต้องเปิดใจและสะดวกใจมากๆ ที่จะเล่า

เรามี “ภาวะคิดมาก” วิธีจัดการการคิดมากที่นักจิตบำบัดแนะนำ (บันทึกก่อนจะเป็นแพนิค)

เอาจริงๆ เราไม่รู้ว่ามันเกิดขึ้นตอนไหน มารู้ตัวอีกทีคือตอนที่ไปนั่งคุยกับนักจิตบำบัดแล้ว นั้นแหละคือตอนที่เรารู้ว่าเราเป็นคนคิดมาก แล้วเก็บเอามาคิดทุกเรื่อง เราว่านี่น่าจะเป็นส่วนนึงที่ทำให้ปวดไมเกรนเรื้อรัง นักจิตบำบัดเคยเตือนว่าถ้าไม่แก้ไขอาจจะเป็น Generalized Anxiety Disorder (โรควิตกกังวลทั่วไป)