ช่วงหนึ่งในชีวิตที่กลัวการนอนหลับ

การนอนหลับเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อสุขภาพของเรา ซึ่งเป็นเหตุผลที่สำคัญทำไมหลายคนถึงคิดถึงการนอนหลับอย่างจริงจัง แต่ก็มีผู้คนบางส่วนที่กลัวการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นเพราะภาวะโรคหรือปัจจัยอื่นๆ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งกายและจิตใจของเราได้

ช่วงหนึ่งเคยนอนไม่หลับ แบบหลายวันติดต่อกัน ไม่หลับแม้แต่วินาทีเดียว โดยที่ร่างกายไม่รู้สึกง่วง ตื่นตัวตลอดเวลา และไม่เพลียด้วย คือพยายามนอน แต่มันไม่หลับ เรียกว่า กลัวการนอนหลับ ก็ไม่ผิดหนัก

ช่วงนั้นรู้สึกเหมือนการนอนหลับคือการทำการบ้านอย่างหนึ่งของชีวิต แทบจะไม่มีเคล็ดลับการนอนหลับอันไหนที่ไม่เคยลองทำ ยิ่งกังวล ยิ่งนอนไม่หลับ แต่มันก็ไม่ได้ผล

[รีวิว] #หนังสือน่าอ่าน วิธีเอาชนะโรควิตกกังวลและอาการแพนิกเฉียบพลัน หนังสือที่คนเป็นแพนิค วิตกกังวลควรอ่าน [เล่มที่ 19 ของปี 2023]

หนังสือ วิธีเอาชนะโรควิตกกังวลและอาการแพนิกเฉียบพลัน เป็นหนังสือที่แปลมาจากต้นฉบับภาษาเยอรมัน ที่ถูกเขียนขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญในด้านการรักษาโรควิตกกังวล โดย เคลาส์ เบิร์นฮาร์ดท์ ผู้เขียนได้รวบรวมประสบการณ์ส่วนตัวที่ผ่านการช่วยเหลือคนที่มีอาการแพนิคเฉียบพลัน ที่มารักษาที่คลินิกจิตบำบัดของตัวเอง และถือเป็นนักบำบัดคนแรกของประเทศเยอรมนีที่ใช้แนวทางใหม่ของการบำบัด ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากงานวิจัยสมองสมัยใหม่แตกต่างไปจากการรักษาแบบเดิมที่ใช้กันเป็นมาตรฐาน

ยารักษาอาการซึมเศร้าและยาคลายเครียด มันคือ “คำสาป” มากกว่าการให้พร

ผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าและเป็นโรควิตกกังวล มักจะได้รับยารักษาอาการซึมเศร้าและยาคลายเครียด แพทย์และนักบำบัดหลายคนเชื่อว่า ยาจะสามารถช่วยเหลือคนไข้ที่มีอาการได้เร็วที่สุด ก็ต่อเมื่อใช้ยาเหล่านี้ช่วยสนับสนุนให้เกิดความสมดุลทางจิตอีกครั้ง จึงไม่น่าประหลาดใจที่อย่ารักษาอาการซึมเศร้านับเป็นหนึ่งในยาที่สั่งให้แก่ผู้ป่วยมากที่สุดในโลก

แต่ในความเป็นจริงแล้วยาต้านเศร้าและยาคลายเครียดที่มักถูกให้คนไข้ ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสมองในเชิงโครงสร้างได้อย่างดีเยี่ยม ยาเหล่านี้ทำได้มากที่สุดคือช่วยบรรเทาความรู้สึกหวาดกลัววิตกกังวลได้บ้างเท่านั้น

[รีวิว] #หนังสือน่าอ่าน จัดการวิตกกังวลวัยรุ่น เหมาะสำหรับคนที่วิตกกังวล หลุดจากความคิดแง่ลบไม่ได้ คิดเรื่องเดิมซ้ำๆ [เล่มที่ 18 ของปี 2023]

หนังสือ “จัดการวิตกกังวลวัยรุ่น : Anxiety Relief For Teens” เป็นหนังสือแนวคู่มือบำบัดความคิดและพฤติกรรม เพื่อให้สามารถเอาชนะความเครียดและความวิตกกังวล โดยออกแบบมาสำหรับวัยรุ่นโดยเฉพาะ เนื้อหาจะอ้างอิงจากปัญหาของวัยรุ่นเป็นหลัก แต่ก็สามารถประยุกต์ใช้สำหรับคนวัยทำงานได้เช่นกัน เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาความวิตกกังวล เช่น กลัวว่าจะไม่เก่งเท่าเพื่อน กังวลเมื่ออยู่กับคนที่ไม่สนิท ไม่สบายใจเมื่อต้องทำอะไรตามลำพัง และเมื่อมีความกังวลมักจะหายใจไม่ออก วิงเวียน ตัวสั่น หนังสือจะแนะนำวิธีบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy – CBT) และการฝึกสติเพื่อตัดวงจรความวิตกกังวลทลายรูปแบบความคิดที่ผิดเพี้ยนพร้อมละเลิกนิสัยเสียต่าง ๆ

แนะนำวิธีคิดและมองตามความเป็นจริง เมื่อมีความคิดวิตกกังวล และมีอาการแพนิค [ครบ 5 เดือนของการแพนิค]

โรคแพนิคหรือโรควิตกกังวลมันได้เปลี่ยนมุมมองที่เรามีต่อโลก เราอาจจะมองสิ่งของที่เคยเห็นเปลี่ยนไป มองเห็นแสงสีที่เคยสดใสเป็นสีอย่างอื่น ราวกลับว่าเราสวมแว่นกันแดดตลอดเวลา จึงทำให้เห็นสีผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง สิ่งที่เรามองเห็นเปรียบได้กับความคิดของเราที่ทำให้เรามองความเป็นจริงผ่านตัวกรอง (กรอบความคิด) บางครั้งก็ถูกอารมณ์ความวิตกกังวลบิดเบือนไป

กลับมาดื่มกาแฟอีกครั้ง หลังจากหยุดดื่มเพราะอาการแพนิคไป 2 เดือน

เราเองก็เป็นคนนึงที่เรียกว่าติดการดื่มกาแฟมาก ๆ ปกติเราจะดื่มกาแฟวันละ 2 ครั้ง เวลา 10:00 น. และ 14:00 น. เราจะดื่มเวลาเดิมตลอด และวันหยุดเราก็จะไปนั่งร้านกาแฟ นั่งอ่านหนังสือ (แทบทุกวันหยุด) เรียกได้ว่าการดื่มกาแฟคือหนึ่งในความสุขของเรา แต่ช่วงที่เราต้องไปฝังเข็มรักษาไมเกรน เราต้องงดดื่มกาแฟ แอลกอฮอล์ และน้ำเย็นทุกอย่าง ส่งผลให้เราต้องงดดื่มกาแฟไป

สวัสดี #ปีใหม่2566 ปีที่ตั้งเป้าว่าจะมีความสุขกับปัจจุบันขณะ

สวัสดีปีใหม่ 2566 ก็นึกว่าตัวเองจะมาไม่ถึงแล้ว รู้สึกตัวเองเก่งจัง ปีที่แล้วค่อนข้างยากลำบากมาก ๆ ทั้งเรื่องสุขภายกาย และสุขภาพใจ ปีที่แล้วมีเรื่องเดียวที่สุดยอดคือ เรื่องรายได้ และน่าจะเป็นเรื่องเดียวที่ส่งผลทำให้หลาย ๆ อย่างในปีไม่แย่ไปกว่านี้ การมีเงิน มีรายได้ที่มากขึ้น มันเป็นเป้าหมายในชีวิตของหลาย ๆ คนอยู่แล้ว รวมถึงเราเองก็ด้วย มันคือส่วนนึงที่ทำให้ชีวิตเดินไปข้างหน้าได้อย่างไม่กังวล

บอกลาปี 2022 ด้วยการอ่านหนังสือ “ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์” ให้จบ

สวัสดีวันที่ 31 ธันวาคม 2022 วันสุดท้ายของปี 2022 แล้ว เตรียมบอกลาปี 2022 คงไม่ได้เขียนสรุปเรื่องราวที่เกิดในปีนี้ เขียนไม่ไหว เรื่องราวเยอะไปหมด จำไว้ในหัวแทนละกัน อันไหนจำได้ ก็จำ อันไหนจำไม่ได้ก็ปล่อยให้มันลืมไปตามกลไกลของสมองไป

แชร์ 6 วิธีรักษาโรคแพนิคด้วยตัวเอง (ร่วมกับการทานยาและพบนักจิตบำบัด)

วิธีรักษาโรคแพนิคด้วยตัวเอง ที่เราจะมาแชร์จะเป็นวิธีที่เราได้ทดลองทำมาแล้ว ทั้งที่มีนักจิตบำบัดพาทำ มีคนที่เคยเป็นแนะนำมา หรืออ่านมาจากแหล่งอื่น ๆ ในที่นี้เราขอพูดการทำจิตบำบัด เพราะเราผ่านการทำจิตบำบัดมาหลายรอบ พอมีประสบการณ์มาบอกเล่าต่อ เผื่อใครไม่อยากเสียเงิน

คิดลบตลอดเวลา ! แชร์ 6 วีธีปรับทัศนคติคนคิดลบ ให้มองโลกด้วยความเป็นจริง และมองโลกบวก

เจตจำนงของเราเขียนเพื่อให้คนที่คิดลบ คนที่คิดลบตลอดเวลา แต่ไม่ถึงกับซึมเศร้าได้อ่าน เพราะเราเข้าใจดีว่าอาการซึมเศร้านั้นเป็นความผิดปกติของสมอง บทความนี้อาจจะไม่เหมาะ

15 วิธีอยู่กับอาการแพนิค! การอยู่รวมและจัดการกับแพนิคกำเริบ (Panic Attack) ในแบบของเรา

แพนิคกำเริบ (Panic Attack) ที่เกิดขึ้นกับเรา มีหลายอาการ ซึ่งแต่ละครั้งอาการก็แตกต่างกันไป ตามความเข้าใจเราคือ Panic Attack ไม่เหมือนกับการแพนิคเฉยๆ เพราะการ Panic Attack คือจะมีอาการร่วม แต่การแพนิค คือการวิตกกังวลจากความคิดและเคมีในสมอง

3 ข้อแนะนำ + แชร์ประสบการณ์การพบนักจิตบำบัดผ่านแอป ooca

แชร์ประสบการณ์การพบนักจิตบำบัด เขาจะมีคำถามถามเรื่องเรื่อยๆ ตรงๆ ควรจะคิดและตอบตามตรง ไม่มีประโยชน์ที่จะจ่ายเงินไปเพื่อโกหกหมอ เริ่มต้นด้วยการพูดคุย เราเล่าถึงปัญหาของเรา ตรงนี้สำคัญมาก เพราะสิ่งที่เราพูดจะมี keyword ที่หมอจะจับทางเพื่อช่วยให้คำปรึกษาเรา พยายามพูดสิ่งที่คิด ยิ่งที่หนักใจ ต้องเปิดใจและสะดวกใจมากๆ ที่จะเล่า

1 2